นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

โรคลิ้นหัวใจรั่วในสุนัขสูงวัย

สุนัข ,โรคและการรักษา ,โรคที่พบบ่อยในสัตว์เลี้ยง 17 กันยายน 2565 13,634 ครั้ง

โรคลิ้นหัวใจรั่ว คืออะไร 

          โรคลิ้นหัวใจรั่วพบมากในสุนัขอายุตั้งแต่ 8 ปี โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์เล็กได้แก่ Cavalier King Charles Spaniels, Miniature poodles, Shih Tzu, Maltese, Chihuahua, Cocker Spaniels, Miniature Schnauzers, Dachshunds, Whippets, และ Pomeranians นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ และพันธุ์ผสม

สาเหตุ

          หัวใจประกอบด้วยลิ้นหัวใจ  4 ลิ้น  แต่ลิ้นที่มีปัญหาได้บ่อยคือ ลิ้นไมทรัล (Mitral valve) กั้นระหว่าาง ห้องหัวใจบนซ้ายกับห้องหัวใจล่างซ้าย ซึ่งปกติลิ้นจะปิดเมื่อหัวใจมีการบีบตัว โดยป้องกันการไหลย้อนกลับ ของเลือดสู่ห้องบนซ้ายเพื่อให้เลือดไหลออกไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อมีการไหล ย้อนของเลือดผ่านลิ้นหัวใจ กลับสู่ห้องบน หากเป็นลิ้นไมทรัล เรียกภาวะนี้ว่า  “Mitral regurgitation” หากเป็นด้านขวามีการไหล ย้อนจากห้องล่างขวาผ่านลิ้นไตรคัสปิดสู่ห้องบนขวา เรียกภาวะนี้ว่า “Tricuspid regurgitation” ทำให้มีแรงดันเลือดและปริมาณเลือดมากขึ้นส่งผลให้หัวใจห้องบนซ้ายขยายใหญ่และ มีการคั่งของ น้ำเลือดในปอด การรั่วของลิ้นหัวใจเกิดจากความเสื่อมของโครงสร้างลิ้นหัวใจ เกิดการหนา ตัวขึ้น ทำให้การทำหน้าที่ปิดในข่วงหัวใจหดตัวปิดได้ไม่สมบูรณ์

อาการ

          สุนัขส่วนใหญ่ที่มีปํญหาลิ้นหัวใจรั่วในระยะแรกมักไม่แสดงอาการหรือเจ้าของอาจรู้สึกได้เพียงว่าสัตว์มีอาการเชื่องช้าลงตามอายุหรืออาจเกิดจากโรคอื่นที่พบได้บ่อยในสุนัขเช่น ข้อเสื่อม ส่วนอาการที่พบมักขึ้นอยู่กับ ระดับความรุนแรงของโรคเช่น เหนื่อยง่าย ไอ หายใจลำบาก หายใจถี่ อ่อนแรงหรือเป็นลม เป็นต้น

การรักษา

          มีการใช้ยาหลายชนิดในการรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว โดยการเลือกชนิดและขนาดของยาที่ให้ต้องค่อย ให้และคอยปรับระดับยาในสัตว์แต่ละตัว การรักษาในสัตว์ที่เป็นโรคระยะเริ่มแรกจะไม่เหมือนกับสัตวที่ เป็นถึงขั้นรุนแรง เนื่องจากการเสื่อมของลิ้นจะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ การปรับแผนการรักษาอาจเกิดขึ้น ในระยะเวลาเป็นเดือนถึงเป็นปี ยาที่มีการใช้บ่อยในการรักษาคือ กลุ่มยาขับน้ำ ได้แก่ Furosemide, Spironolactone, กลุ่มยาขยายหลอดเลือดได้แก่ enalapril, ramipril, benazapril, pimobendan กลุ่มยาเพิ่มการบีบตับตัวของหัวใจได้แก่ pimobendan, digoxin และยาอื่นๆเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะเจาะจง เช่น การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ความดันสูงในหลอดเลือดที่ปอด อย่างไรก็ตามการรักษาไม่สามารถทำให้ หายจากโรคได้เป็นเพียงการบรรเทาอาการ ปัจจุบันยังมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีการรักษาที่ป้องกันใน ระยะแรกหรือหยุดภาวะการเสื่อมของลิ้นหัวใจ

การพยากรณ์โรค

          ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคในขณะที่ตรวจวินิจฉัยได้ ในสุนัขที่ตรวจพบในระยะเริ่มแรก สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หลายปี ในขณะที่สุนัขบางตัวตรวจพบเมื่อมีอาการขั้นรุนแรงอาจอยู่ได้ไม่กี่เดือน ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือต่างๆ จึงไม่ใช่แค่เพียงวินิจฉัยว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วแต่สามารถบอก ระดับความรุนแรงและการพัฒนาดำเนินไปของโรคสำหรับสุนัขแต่ละตัวได้อีกทางหนึ่ง การเฝ้าระวัง สังเกตุสุนัขที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ความถี่และความเข้มงวดในการเฝ้าติดตามอาการขึ้นอยู่กับ สุนัขแต่ละตัว ระดับความรุนแรงของโรค การตอบสนองต่อการรักษาและสถาพร่างกายหรือโรคทางระบบอื่นๆ ที่มีแทรกซ้อน

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor