สัตว์เลี้ยงเปรียบเสมือนเพื่อนหรือส่วนหนึ่งของครอบครัวเรา ดังนั้นก่อนที่จะเลือกสัตว์ชนิดใด ผู้เลี้ยงควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆก่อนที่จะตัดสินใจนำสัตว์มาเลี้ยง เนื่องจากสัตว์แต่ละชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกัน หรือสัตว์ประเภทเดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ย่อมมีลักษณะนิสัยที่ต่างกัน ดังนั้น เบื้องต้นเราควรสำรวจตัวเองก่อนว่าเราเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ประเภทใดและมีความพร้อมเพียงพอหรือไม่
1. ความพร้อมของผู้เลี้ยง อย่างแรกคือ ผู้เลี้ยงต้องถามตัวเองก่อนว่ามีความพร้อมหรือไม่ในการที่ต้องเริ่มต้นดูแลชีวิตใหม่ เพราะการเลี้ยงนั้นสิ่งสำคัญคือเวลาและการดูแลเอาใจใส่จากผู้เลี้ยง ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงปลาที่ดูเหมือนอาจไม่ต้องใช้เวลามากเหมือนสัตว์ชนิดอื่น แต่แท้จริงแล้วปลาก็ต้องการความใส่ใจจากผู้เลี้ยงโดยการหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือทำความสะอาดตู้สม่ำเสมอเป็นต้น นอกจากนี้เรื่องของสมาชิกในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญ ในครอบครัวที่มีเด็ก หรือแม้แต่ตัวผู้เลี้ยงเองที่เป็นเด็กเอง การเลี้ยงสัตว์ช่วยฝึกให้เด็กมีความโอบอ้อมอารี มีนิสัยอ่อนโยนมากขึ้น แต่เด็กเล็กอาจยังมีความรับผิดชอบไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงประเภทที่ต้องการการดูแลมากๆ หรือการเลี้ยงสัตว์ประเภทขนยาวก็ก่อให้เกิดปัญหาโรคภูมิแพ้ได้ในเด็กหรือผู้สูงอายุ
2. ประเภทของสัตว์เลี้ยง เนื่องจากสัตว์เลี้ยงนั้นมีหลายประเภท ไม่ใช่เพียงแค่สุนัขหรือแมวเท่านั้น ผู้เลี้ยงจึงควรสำรวจตัวเองก่อนว่าสนใจหรือมีความชอบสัตว์ประเภทใด หรือสายพันธุ์อะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มสัตว์เลี้ยงพิเศษที่เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน เพราะผู้เลี้ยงควรทราบถึงลักษณะนิสัยว่าสัตว์ประเภทที่ผู้เลี้ยงสนใจนั้นเป็นสัตว์ที่ต้องการสังคม ชอบอยู่รวมกัน หรือรักสันโดษมักชอบอยู่เพียงลำพัง เรื่องพฤติกรรมทั่วไปในการดำรงชีวิตประจำวันซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องพื้นที่ในการเลี้ยง เช่น สุนัขสายพันธุ์ใหญ่มักต้องการกิจกรรมที่ต้องใช้พื้นที่กว้างในการวิ่งเล่นออกกำลังกาย ถ้าผู้เลี้ยงมีพื้นที่จำกัดการเลือกเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์เล็กจึงมีความเหมาะสมกว่า เรื่องของอาหาร เช่นในแมวนั้นมีความต้องการอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนที่มากกว่าในสุนัข หรือแม้แต่โรคประจำสายพันธุ์ สัตว์แต่ละสายพันธุ์มักมีโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่พบได้บ่อยๆ เช่น สุนัขกลุ่มสายพันธุ์หน้าสั้นมักมีปัญหาในเรื่องระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องพิจารณาดูว่าพร้อมหรือไม่ที่จะต้องดูแลเขาเหล่านี้ไปตลอดชีวิต
3. ค่าใช้จ่าย สิ่งที่ต้องพิจารณาตามมาคือในเรื่องของค่าใช้จ่ายประจำวัน ผู้เลี้ยงควรคำนวณว่ามีงบประมาณเท่าใด การเลี้ยงสัตว์ประเภทนั้นๆกระทบต่อการใช้จ่ายส่วนตัวหรือไม่ เช่นการเลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญ่ซึ่งต้องการอาหารปริมาณมาก ค่าใช้จ่ายต่อเดือนยิ่งสูงมากตามไปด้วย
4. อายุของสัตว์เลี้ยง กรณีของสัตว์ที่ยังอายุน้อยมาก เช่น เพิ่งหย่านมจากแม่ ผู้เลี้ยงอาจต้องใช้ความเอาใจใส่ดูแลมากกว่าปกติ ทั้งเรื่องของสุขภาพ อาหาร และความสะอาดและ แต่กรณีที่สัตว์เลี้ยงอายุโตระดับหนึ่งแล้วอาจเกิดปัญหาในเรื่องของการปรับตัว หรือการฝึกให้เชื่อฟังนั้นทำได้ยากกว่า
5. เพศ โดยทั่วไปนั้นปัจจัยเรื่องเพศมักส่งผลต่อพฤติกรรมหรือนิสัยตัวของสัตว์ด้วย เช่น สัตว์เพศผู้มักมีความเป็นผู้นำ มีการแสดงอาณาเขต เช่นการ ปัสสาวะตามที่ต่างๆซึ่งผู้เลี้ยงที่ไม่เข้าใจอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ผู้เลี้ยงควรทำความเข้าใจก่อนว่าตัวผู้เลี้ยงเองนั้นมีความพร้อมหรือเหมาะกับการเลี้ยงสัตว์หรือไม่ หรือเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ประเภทใด ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสัตว์เลี้ยงโดดทอดทิ้งจนเป็นภาระของสังคมตามมา
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่
#ThonglorPetHospital #TheBestAlways
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor