นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

การเล่นที่เหมาะสมในสัตว์เลี้ยง

สุนัข 17 กันยายน 2565 4,381 ครั้ง

          การเล่นที่เหมาะสม การเล่นที่เหมาะสมในสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะการเล่นที่ผิดวิธีอาจทำให้สัตว์เลี้ยงมีนิสัยก้าวร้าว กลัว หรือมีการเล่นที่รุนแรงจนเกินไปได้ ซึ่งช่วงที่มีความสำคัญมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงเรียกว่าช่วง Socialization period ซึ่งช่วงนี้จะพบในช่วงอายุ 3-12 สัปดาห์ของสุนัข ส่วนในแมวคือช่วงอายุ 2-7 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงอายุที่มีความ sensitive มากในด้านพฤติกรรมรวมถึงการพัฒนาการต่างๆในสัตว์เลี้ยง

          โดยจะต้องเสริมสร้างความมั่นใจให้กับสัตว์เลี้ยงและให้เขารับรู้ว่าเราเป็นเจ้านายของเขา หากสัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้อยู่กับคนหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์อื่นๆในช่วงนี้ก็จะมีความหวาดระแวงและกลัวคนหรือสัตว์อื่นๆไปตลอดชีวิต และในช่วงนี้ต้องให้สัตว์เจอกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ ให้เล่นกับเพื่อนๆในคอก และไม่ควรแยกออกมาจากคอกเร็วเกินไป ในสุนัขการแยกออกจากคอกดีที่สุดคือ 8-10 สัปดาห์ ส่วนในแมวเราจะควบคุมได้ค่อนข้างยากเนื่องจากแมวเมื่อหย่านมก็จะเลยช่วงนี้ไปแล้ว ซึ่งช่วง Socialization period นั้นเป็นช่วงที่ผู้เลี้ยงจะต้องมีวิธีการจัดการและการเล่นที่เหมาะสมเพราะสัตว์จะมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดีเช่น bite inhibition คือเรียนรู้ที่จะยับยั้งไม่ให้กัดจนแรงเกินไป

          โดยสัตว์จะเรียนรู้จากเพื่อนร่วมคอกและเจ้าของ โดยเจ้าของจะต้องไม่ยอมให้สัตว์เลี้ยงกัดเราแรงเกินไป หากเขากัดแรงเกินไปให้ลงโทษโดยการดุพร้อมทั้งทำสีหน้าที่ดุมากขึ้น ไม่ควรตีหรือลงไม้ลงมือกับสัตว์เลี้ยงเพราะจะทำให้เขาจดจำและกลายเป็นสัตว์ที่หวาดระแวง กลัวหรือก้าวร้าวไปตลอดชีวิต รวมถึงต้องสอนให้รู้จักการให้ไม่หวงของ โดยกิจกรรมทุกอย่างที่จะเล่นจะต้องสอนให้สัตว์เลี้ยงรู้จักควบคุมตั วเองซึ่งการเล่นที่ดีจะส่งเสริมให้สุนัขสามารถควบคุมได้ง่าย และยอมทำตามคำสั่ง โดยต้องไม่เอารางวัลโดยเฉพาะของเล่นมากระตุ้นสัตว์เลี้ยงมากไป โดยเฉพาะในสุนัข และหลีกเลี่ยงการกระทำที่ไม่เหมาะสมที่เป็นการท้าทาย หรือแหย่สุนัขเช่น การเคลื่อนไหวไปมาและการจู่โจมอย่างรวดเร็ว หลีกเลี่ยงการยั่วยุโดยการดึงและบิดของเล่นอย่างแรงออกจากปากสุนัข

          การเล่นเกมชักคะเย่อ และการแกว่งของเล่นไปมาจนสุนัขเอื้อมไม่ถึงหรือเอาไว้ข้าง หลังเพื่อไ ม่ให้สุนัขแย่งไปจากมือเพราะการกระทำเหล่านี้จะเพิ่มความเป็นจ่าฝูงและมีพ ฤติกรรมที่ก้าวร้าว แต่การกระทำเหล่านี้อาจจะช่วยกระตุ้นให้สุนัขที่ขี้อา ยแต่ไม่ควรกระตุ้นจนทำให้สุนัขกล้ามากเกินไปและให้จำไว้เสมอว่าเจ้าของไม่ใช่ของเล่น ให้หลีกเลี่ยงการใช้ร่างกายหรือเสื้อผ้าเป็นอุปกรณ์การเล่น เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้สุนัขเข้าใจว่าเราอ่อนแอกว่าและให้ใช้วิธีการเล่นแบบที่เจ้าของเป็นผู้ควบคุมกฎเช่นการเล่นซ่อนหา หรือการเล่นชักคะเย่อตามคำสั่งเจ้าของโดยเราเป็นคนกำหนดกฎกติกาคือการใช้คำสั่ง 3 คำสั่ง "เอาไป" "ดึง" และ "ปล่อย" ซึ่งการเล่นแบบนี้จะช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีของสุนัขได้

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor