รักษาโรคหัวใจในแมวและโรคหัวใจในสุนัข
22 / May / 2022

โรคหัวใจในแมวและโรคหัวใจในสุนัข เป็นอาการโรคที่เกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวใจ หรือเป็นความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด อาการของโรคหัวใจที่เรียกว่าหัวใจล้มเหลว ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ เป็นผลให้เนื้อเยื่อและอวัยวะสำคัญต่างๆ ไปเลี้ยงน้อยลง ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นตั้งแต่แรกเกิด หรือตามมาที่หลัง
สัตว์เลี้ยงของคุณเคยมีอาการเหล่านี้บ้างไหม
- ซึม
- ไม่อยากอาหารหรือกินน้อยลง
- ไอแห้งๆ และมักจะไอเวลากลางคืน
- หายใจลำบาก เหงือกซีด
- น้ำหนักลด
- ท้องกาง
- เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
- เป็นลมหมดสติ
การวินิจฉัย
สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายโดยทั่วไป ตรวจหัวใจโดยใช้หูฟังแทน เสียงการเต้นของหัวใจและจับชีพจร หากหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะแนะนำให้ตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติม เช่น
- เอ็กซ์เรย์ช่องอก เพื่อตรวจขนาดของหัวใจว่าโตขึ้นหรือไม่ และปอดมีความปกติหรือ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่
- ตรวจเลือด ตรวจโรคพยาธิหนอนหัวใจ การทำงานของอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ไต
- อัลตร้าซาวน์ เพื่อดูโครงสร้างของหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ เป็นต้น
การรักษา(โรค)หัวใจ
โรคหัวใจในแมวและโรคหัวใจในสุนัข ไม่ได้ทำให้สัตว์เลี้ยงต้องเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ไปอย่างสิ้นเชิง สัตวแพทย์จะให้ยาสำหรับโรคหัวใจและเจ้าของดูแลเรื่องการให้ยาอย่างใกล้ชิด ควรงดออกกำลังกายหรือกิจกรรมใดที่ทำให้สัตว์เหนื่อย และสิ่งที่สำคัญคือระวังในเรื่องน้ำและอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือ
แนวทางการป้องกัน(โรค)หัวใจ
โรคหัวใจในแมวและโรคหัวใจในสุนัข อาจเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงทุกตัว แต่มีความเป็นไปได้สูงกว่าในกลุ่มที่มีความผิดปกติมาแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจบางชนิดสามารถป้องกันได้เมื่อดูแลอย่างเหมาะสม
- การป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจ อย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ขยายพันธุ์สุนัขที่เป็นโรคหัวใจ เพราะโรคหัวใจบางชนิดอาจจะถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ หากสุนัขเป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงขณะคลอดลูก
- การดูแลรักษาช่องปากสุนัขอย่างสม่ำเสมอ หากสุนัขมีหินปูนหรือมีการอักเสบในช่องปากอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคติดเชื้อในหัวใจได้
หากพบโรคหัวใจในแมว โรคหัวใจในสุนัข รักษาที่ไหนดี?
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ มีกระบวนการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดเพื่อตราวจหาความเสี่ยงในการเกิดโรค ในรายที่เป็นโรคนี้แล้ว เรามีทีมสัตวแพทย์ตรวจหาอาการผิดปกติต่างๆ หาโรคหรืออาการป่วยที่เป็นผลตามมาของโรคหัวใจ เพื่อหาทางรักษาและดูแลที่เหมาะสมแก่สัตว์เลี้ยงแต่ละตัว
Related Post

พยาธิหนอนหัวใจเกิดจากยุงเป็นพาหะตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจเลือดของสุนัขที่เป็นโรคแล้ว แพร่เชื้อไปยังสุนัขที่แข็งแรงปกติ โดยการกัดทะลุเข้าไปถึงชั้นผิวหนังและกล้ามเนื้อของสุนัข จากนั้นตัวอ่อนของพยาธิ จะเข้าสู่กระแสเลือดแล้วเดินทางไปยังหัวใจค่อยๆพัฒนากลายเป็นต

มอบ...ความรักให้สัตว์เลี้ยงของคุณ โดยการส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นสุขภาพดี นำมาซึ่งความสุขของคุณและครอบครัวบางครั้งสัตว์เลี้ยงของคุณ ไม่อาจบอกได้ว่าเขามีความผิดปกติในร่างกายเกิดขึ้นและเมื่อคุณพบว่าป่วยก้สายเกินไป และไม่สามารถรักษาให้หายได้ เช่นโรคมะเร็ง โรคไ

การศัลยกรรมและวางยาสลบในสัตว์เลี้ยง เมื่อได้ยินแล้วคิดว่าหลายๆท่านคงไม่ค่อยสบายใจนักหากสัตว์เลี้ยงของท่านมีอันต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำเหล่านี้ ในความเป็นจริงแล้วความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเครื่องมือทางด้านสัตวแพทย์ได้มีการพัฒนาไปค่อนข้างไกลมาก ดังนั้