นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

การดูแลสัตวป่วยโรคหัวใจที่บ้าน

โรคและการรักษา 7 ตุลาคม 2565 15,043 ครั้ง

        เมื่อพบว่าสัตว์เลี้ยงเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวแล้วไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ แต่หากมีการจัดการและดูแลอย่างเหมาะสมสามารถทำให้สัตว์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยมีการปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ยุ่งยาก คือ การสังเกต

  • การสังเกตโดยทั่วไป ได้แก่ ความอยากอาหาร ปริมาณการกินน้ำ ท่าทางและกิจกรรมโดยทั่วไปให้บ่อยครั้งมากขึ้น ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือพบความผิดปกติ เกิดขึ้น อาจบ่งชี้ถึงผลข้างเคียงจากการให้ยา อาการหัวใจล้มเหลวทรุดลง ขอแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดจากโรคหัวใจหรือเกิดจากโรคทางระบบร่างกายอื่น
  • การสังเกตอัตราการหายใจ โดยมีการนับอัตราการหายใจในช่วงพักหรือหลับสนิท และไม่มีการรบกวนต่อตัวสัตว์ นับจำนวนครั้งการหายใจใน 1 นาที ปกติน้อยกว่า 30 ครั้งต่อนาที หากมีการเพิ่มขึ้น 20 % หรือมีอาการต่อเนื่องไปอีก 2 -3 วัน อาจมีภาวะน้ำท่วมปอด (pulmonary edema) ได้
  • การสังเกตอัตราการเต้นหัวใจ สามารถเฝ้าติดตามได้โดยทำการวัดชีพจรที่ขาหนีบในช่วงสัตว์พัก หากชีพจรเพิ่มขึ้น 20 % บ่งบอกถึงภาวะหัวใจล้มเหลวทรุดลง

ยาสำหรับโรคหัวใจ

        โดยปกติแล้วการให้ยาเป็นวิธีการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวจึงควรทำความเข้าใจจุดประสงค์ และผลข้างเคียงของการให้ยากับสัตวแพทย์ หากไม่เข้าใจเหตุผลควรทำการสอบถามให้ชัดเจน เพื่อจะ ได้เฝ้าระวังเพราะโรคหัวใจมีการดำเนินไปของโรคตลอดเวลาและมีข้อแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้นจึงต้องมีการปรับยาตลอด

การให้ยา

        ควรทำการให้ยาตรงตามเวลาและขนาดอย่างเคร่งครัดมีความสำคัญมาก รวมไปถึงการแบ่งเม็ดยาและการให้ยาชนิดน้ำ โดยอาจมีการทำข้อความแปะไว้ที่ตูเย็นกันลืม มีกล่องใส่ยาหรืออาจทำตารางเพื่อให้มั่นใจว่าได้ให้ยาเรียบร้อยในแต่ละวันหากต้องมีหลายคนเป็น คนให้ยา เป็นต้น

        การตรวจประเมินผลหลังให้ยา สัตวแพทยืจะทำการทบทวนขนาดและชนิดของยาที่สัตว์ ได้รับรวมถึงยาอื่นที่ไม่ใช่ยาสำหรับโรคหัวใจ เช่น ชื่อยา ขนาดความเข้มข้นเม็ดยา (mg) หรือขนาด ความเข้มข้นของยาน้ำ (mg/ml) ปริมาณที่สัตวได้รับปัจจุบันและเวลาที่ทำการให้ยา ซึ่งในการนัดหมาย แต่ละครั้งที่สัตวแพทย์ทำการนัดควรนำยาทั้งหมดปัจจุบันมาด้วย หากสัตว์มีอาการทรุดลงหรือไม่คงที่ อาจมีการทำสมุดบันทึกการปรับเปลี่ยนยาด้วย และแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบหากพบอาการผิดปกติ โดยทำกาตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อเฝ้าระวังการทำงานของไตและอเล็กโตรไลท์ เช่น โพแทสเซียม อาหารสำหรับโรคหัวใจ

  • การลดปริมาณเกลือ (Sodium chloride)ในอาหารเป็นคำแนะนำที่สัตว์อยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องทำเพราะมีโอการโน้มนำให้เกิดการคั่งของเกลืและน้ำในร่างกายได้ ซึงอาหารตามท้องตลาดทั่วไป และอาหารคนมักมีเกลือสูง แต่อาหารเฉพาะโรคทั่วไปหรืออาหารปรุงเองที่มีปริมาณเกลือต่ำ สามารถให้ได้
  • การจำกัดเกลือในระดับปานกลางประกอบด้วย 0.2 – 0.25% sodium ของน้ำหนักแห้ง สำหรับสุนัขและ 0.25 – 0.33 % sodium ของน้ำหนักแห้งสำหรับแมว
  • การจำกัดปริมาณเกลืออย่างเข้มงวดมีส่วนช่วยอย่างมากในกรณีภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรง

การออกกำลังกาย

        การทีสัตว์ลดกิจกรรมบางอย่างลงหรือมีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกายเป็นอาการหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลว บางครั้งการออกกำลังกายแบบปกติก็อาจพบอาการหายใจลำบากได้ ควรออกกำลังกายปานกลางและสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการปรับการทำงานของหัวใจ ( compensated heart failure) ไม่ควรบังคับหากพบว่า สัตว์เริ่มเหนื่อย ควรรับแจ้งสัตวแพทย์โดยด่วน หากพบ อาการเป็นลมหรืออ่อนแรงอย่างฉับพลัน ซึ่งบ่งชี้ว่าสัตว์เลี้ยงไม่สารถปรับการทำงานของหัวใจได้ (decompensated heart failure)


สพ.ญ.ชัญภร กวางรัตน์

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor