นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

รักษาเชื้อราแมว อย่างไรให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

สุนัข ,แมว ,โรคและการรักษา ,โรคที่พบบ่อยในสัตว์เลี้ยง 16 กรกฎาคม 2566 261,685 ครั้ง


อีกหนึ่งในโรคติดต่อในแมวที่สามารถพบได้บ่อย และเป็นอันตราย หากเกิดขึ้นกับแมวสุดที่รักของคุณ ซึ่งนั่นก็คือ โรคเชื้อราแมว โดยมีสาเหตุหลักๆ จากการติดเชื้อราที่เกิดจากการสะสมความชื้น บนร่างกายของแมว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแมวพันธุ์ขนยาว ยกตัวอย่างเช่น เปอร์เซีย สก็อตติช แต่อย่างไรก็ตาม การ รักษาเชื้อราแมว ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ และรักษาได้ไม่ยากนัก

ดังนั้นวันนี้ Thonglor Pet Hospital ของเรา จึงอยากพาท่านเจ้าของทุกท่าน มาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น รวมถึงวิธีป้องกันเชื้อราแมวอย่างไรให้ตรงจุด หากอยากรู้กันแล้ว มาติดตามกันต่อได้เลย

อาการ เชื้อราแมว เป็นยังไง


เชื้อราแมว ส่วนใหญ่กว่า 90% มักจะเกิดจาก เชื้อราสายพันธุ์ Microsporum Canis โดยเมื่อแมวของเราติดเชื้อรา จะสามารถสังเกตได้ไม่ยากนั่นก็คือ บริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อจะมีลักษณะ แห้ง แดง ลอกเป็นขุย ขนร่วง และบางตัวอาจมีอาการตกสะเก็ดร่วมด้วย

และที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ โรคนี้เป็นโรคติดต่อ หากในพื้นที่เลี้ยงมีแมวมากกว่า 1 ตัว จะสามารถติดต่อจากแมวสู่แมวได้ มากไปกว่านั้น โรคนี้ยังสามารถติดต่อสู่คนได้อีกด้วย โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้น้องแมวสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้นนั้น ได้แก่

  • แมวที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น แมวสูงอายุที่สุขภาพไม่แข็งแรงเป็นทุนเดิม หรือเป็นแมวเด็กที่มีอายุน้อย
  • สภาพแวดล้อมพื้นที่ที่อยู่อาศัย ไม่สะอาด มีความชื้นสูง โดยไม่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • เกิดการบาดเจ็บที่ชั้นผิวหนัง โดยไม่มีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

จะเห็นได้ว่าในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้น้องแมวติดโรคนั้น ท่านเจ้าของสามารถป้องกัน และ รักษาเชื้อราแมว ได้ไม่ยาก เพียงหมั่นดูแลเอาใจใส่ รักษาความสะอาด และไม่ละเลยการพาสัตว์เลี้ยงของท่านไปตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำ


รักษาเชื้อรา แมว อย่างไร ให้ตรงจุด



หลังจากสังเกตอาการที่เกิดขึ้นเบื้องต้นแล้ว และเป็นกังวลว่าแมวของเรากำลังเป็นโรคเชื้อรา คุณควรพาน้องแมวไป โรงพยาบาลสัตว์เพื่อพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที และเมื่อพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เรียบร้อยแล้ว ทางคุณหมอก็จะวินิจฉัยโรค ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • ถอนขนบางส่วนออก เพื่อนำเส้นขนไปตรวจหาชนิดของเชื้อรา
  • ใช้โคมไฟ Wood Lamp ส่องตรวจบริเวณรอยโรค หากเกิดแสงสะท้อนสีเขียว รอบวง หรือรอยสะเก็ด ก็มีโอกาสจะเป็นเชื้อราสูง แต่วิธีนี้สามารถตรวจได้เชื้อราสายพันธุ์ Microsporum Canis เท่านั้น จึงมีความแม่นยำไม่สูงนัก
  • เพื่อความแม่นยำ ขนที่ถูกถอนออกไป จะถูกนำไป เพาะเชื้อรา เป็นเวลา 7-21 วัน โดยหากเกิดเชื้อราจริง ถาดเพาะเชื้อจะเปลี่ยนสี และมีโคโลนีสีขาวเกิดขึ้น อย่างเห็นได้ชัด

โดยหลังจากมั่นใจแล้วว่า เชื้อราที่เกิดขึ้นบนตัวแมวนั้น มีสาเหตุมาจากเชื้อราสายพันธุ์ใด คุณหมอก็จะเริ่มกระบวนการ รักษาเชื้อราแมว ดังนี้

  1. รับประทานยากลุ่มต้านเชื้อรา เช่น Terbinafine Itraconazole หรือ Fluconazole เป็นต้น
  2. ใช้ยาประเภทจุ่ม หรือทาบริเวณผิว ได้แก่ Funginox Lamisil โดยยาประเภทนี้จะเหมาะมากกับสัตว์เลี้ยงที่อายุน้อย และไม่สามารถทานยาได้ปกติ
  3. ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Miconazole Ketoconazole หรือ 2% Chlorhexidine ซึ่งสามารถลดจำนวนของเชื้อราลงได้
  4. การตัดขนร่วมกับการรักษา เป็นตัวเลือกที่ไม่จำเป็นเสมอไป โดยการโกนขนอาจทำให้ประสิทธิภาพการทายาดียิ่งขึ้นได้ แต่ก็อาจส่งผลต่อการกระจายตัวของเชื้อรามากขึ้น

หลังการรักษาข้างต้นอย่างต่อเนื่อง สัตวแพทย์จะทำการเพาะเชื้อจนกว่าจะไม่พบเชื้อรา 1-2 ครั้ง ห่างกัน 2-4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตร่วมกับรอยด่างของโรคที่จะค่อยๆ จางลง และหายไปในที่สุด

รักษาเชื้อราแมว ก่อนติดต่อสู่คนเลี้ยง

หลังจากแมวของเราได้รับการ รักษาเชื้อราแมว ให้หายดีแล้ว ร่างกายของแมวตัวนั้นจะเริ่มมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อราสายพันธุ์ดังกล่าว ซึ่งหมายความว่า หากแมวของเราได้รับเชื้ออีกครั้งในระยะเวลาที่ยังมีภูมิคุ้มกันนี้อยู่ ก็จะไม่มีผลกระทบที่รุนแรง เช่น หายป่วยได้เร็วขึ้น หรือในแมวบางตัวอาจไม่มีอาการที่สังเกตได้เด่นชัดเกิดขึ้นเลย แต่อย่างไรก็ตามแมวตัวนั้นก็ยังสามารถเป็นพาหะ ไปติดสู่แมวตัวอื่นๆ ได้อีก

ดังนั้นเพื่อสุขภาพ และอนามัยที่ดีทั้งกับท่านเจ้าของ และตัวน้องแมวเอง การรักษาความสะอาดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยอาการที่เกิดขึ้นหากผู้เลี้ยงติดเชื้อราจากแมว จะมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้

  • เชื้อราจะติดได้ง่ายขึ้นกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ นอนไม่เพียงพอ หรือมีความเครียดสะสม
  • ร่องรอยการติดเชื้อรา จะเรียกว่า รอยกลาก (Ringworm) คล้ายกับที่เกิดขึ้นบนแมว แต่จะเห็นได้ชัดเจนกว่า
  • ผิวหนังจะแห้งลอก เป็นวงขอบแดงๆ และมีตุ่มเล็กๆ ร่วมกับอาการคัน

โดยหากติดเชื้อรา สามารถปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านเพื่อรับยาทาฆ่าเชื้อรา หรือหากเป็นหลายจุดควรพบกับคุณหมอผิวหนัง เพื่อประเมินอาการ และรับการรักษาในขั้นต่อไป อย่างไรก็ตามสปอร์ของเชื้อรานั้น ไม่ได้ติดอยู่กับผิวหนังของแมว สปอร์ดังกล่าวสามารถฟุ้งกระจายไปได้ทั่วบ้าน โดยเฉพาะจุดที่มีการถ่ายเทอากาศต่ำ เช่นมุมอับ หรือจุดที่แสงส่องเข้าไปไม่ถึง จึงควรทำความสะอาดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยทั้งหมด หลังจากทั้งผู้เลี้ยง และแมว หายดีเรียบร้อยแล้ว

อยากให้น้องแมวมีสุขภาพที่ดี โปรดไว้ใจ ให้ Thonglor Pet Hospital ดูแล

เมื่ออ่านบทความมาถึงตรงนี้ ท่านเจ้าของแมว คงจะสามารถคลายกังวล และมีความพร้อมมากขึ้นหากแมวสุดที่รักของท่าน เกิดติดเชื้อราขึ้นมา ซึ่งด้วยการ รักษาเชื้อราแมว นั้นทำได้ไม่ยาก และป้องกันได้ง่าย แต่ก็ไม่ควรละเลยความใส่ใจในจุดนี้ไป หากแมวของท่านอาการยังไม่ดีขึ้น เราขอแนะนำให้พามาที่ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ โรงพยาบาลสัตว์ชั้นนำที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ที่พร้อมดูแลสัตว์เลี้ยงของท่านเปรียบเสมือนเป็นสัตว์เลี้ยงของเราเอง

เราพร้อมให้บริการดูแลเรื่องการรักษาแมว ทุกขนาด และสายพันธุ์ ด้วยทีมงานสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเครื่องมือ และสถานที่ที่สะอาด ปลอดเชื้อ ด้วยคุณภาพระดับสากล ที่เปิดบริการดูแลสุนัขของคุณตลอด 24 ชั่วโมง เพราะเราเชื่อว่าทุกการเจ็บป่วย ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นทุกปัญหาของสัตว์เลี้ยงของคุณ คือปัญหาของเรา โปรดไว้ใจให้เราได้ดูแลที่ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor