นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

โรค ไข้หัดแมว กี่วันหาย พร้อมข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น

แมว ,โรคและการรักษา 16 มิถุนายน 2566 139,824 ครั้ง

โรคไข้หัดแมว เป็นหนึ่งในโรคที่ติดต่อในแมว และมีความอันตรายมาก หากไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งโรคชนิดนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านแมวแต่ละตัว และควบคุมการแพร่ระบาดได้ยาก เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส ส่งผลให้แมวที่ติดโรคนี้เข้าไป จะมีอาการผิดปกติกับทางเดินอาหาร เกิดความทรมาน จนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ดังนั้นสำหรับท่านเจ้าของที่กำลังมีคำถามเกี่ยวกับโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็น โรค ไข้หัดแมว กี่วันหาย ? หากพบว่า

วันนี้ Thonglor Pet Hospital จะตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคไข้หัดแมว เพื่อคลายกังวลให้กับท่านในการเตรียมความพร้อมเรื่องการป้องกันน้องแมวไม่ให้ติดโรค หรือช่วยบรรเทาไม่ให้อาการแย่ลง เมื่อพบว่าแมวของคุณติดเชื้อเรียบร้อยแล้ว ถ้าหากอยากรู้แล้วว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง ตามเรามาได้เลย !


อยากป้องกัน โรคไข้หัดแมว มีข้อควรปฏิบัติอย่างไร ?



ตามปกติแล้ว เมื่อแมวของท่านได้รับเชื้อมา จะใช้เวลาในการฟักเชื้อประมาณ 2-7 วัน โดยระหว่างการฟักเชื้อ จะไม่มีอาการที่เห็นได้อย่างชัดเจน แต่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของน้องแมว ได้แก่

เกิดไข้สูงเฉียบพลัน ซึมเศร้า ไม่ร่าเริง เบื่ออาหาร และไม่รับประทานอาหารเพิ่ม พร้อมกันนั้นยังมีอาการท้องเสีย และอาเจียน เนื่องจากเชื้อไวรัสได้เข้าไปทำลายสมดุลของระบบทางเดินอาหารแล้ว

ดังนั้นโรคนี้จึงเป็นอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะในแมวเด็ก ซึ่งหากท่านเจ้าของ มีข้อสงสัยว่า ไข้หัดแมว กี่วันหาย และจะสามารถป้องกันแมวของเราได้อย่างไรบ้าง ก็สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำด้านล่าง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อได้ ดังต่อนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน เมื่อแมวมีอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องฉีดซ้ำทุกๆ 2-3 สัปดาห์ จนกว่าจะมีอายุครบ 16 สัปดาห์

  • หากพบแมวป่วยนอกบ้าน ให้งดการสัมผัสใกล้ชิด โดยไม่มีการป้องกัน หากมีการสัมผัส ควรทำความสะอาดทันที เนื่องจากอาจนำเชื้อกลับมาติดน้องแมวที่บ้านได้

  • เจ้าของควรเลี้ยงแมวในระบบปิด เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ จากภายนอก

  • หากรับแมวเข้ามาใหม่ ให้แยกบริเวณกับแมวที่เลี้ยง ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อสังเกตอาการ

  • ฉีดวัคซีนซ้ำทุกๆ 1-3 ปี ตามการนัดหมายของสัตวแพทย์ เพื่อกระตุ้นวัคซีน

น้องแมวที่ได้รับวัคซีนเพียงพอ เมื่อได้รับเชื้อไข้หัดแมวมา จะทำให้อาการไม่หนักเกินไป และสามารถรักษาตัวให้หายดีได้เร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ อาการต่างๆ ก็จะหายไป อย่างไรก็ตามเชื้อหัดยังสามารถแพร่กระจายได้ผ่านอุจาระนานถึง 6 สัปดาห์ ดังนั้น เจ้าของต้องแยกตัวน้องแมวที่ติดโรคให้ห่างจากแมวตัวอื่นอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อระหว่างแมว

โรค ไข้หัดแมว กี่วันหาย และรักษาอย่างไร ?



หลังจากรู้อาการ และความร้ายแรงของโรคไข้หัดแมวกันไปแล้ว ท่านเจ้าของหลายท่านก็อาจเกิดความกังวลใจว่า หากน้องแมวติดเชื้อโรคนี้มาแล้ว จะแสดงอาการอย่างไร และหายได้ภายในกี่วัน หากน้องแมวได้รับการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นโดยสัตวแพทย์แล้ว อาการจะเริ่มทุเลาลง และค่อยๆ หายดีภายใน 5-7 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวม และอายุของแมวด้วย หากผ่านไปได้ อัตราการรอดชีวิตก็จะสูงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มียารักษาที่ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยตรง สัตวแพทย์จึงทำการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น และให้ร่างกายของน้องแมวกำจัดเชื้อไปเองตามธรรมชาติ โดยวิธีการรักษาจะมี ดังนี้

  • การให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือด และใต้ผิวหนัง

  • ให้ยาลดไข้

  • ให้ยาระงับอาเจียน และยาปฏิชีวนะ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อแทรกซ้อนในลำไส้

  • ป้อนอาหารที่ย่อยง่ายทีละน้อย หากอาการอาเจียนทุเลาลงแล้ว

  • หากต้องการให้วัคซีนหลังป่วย ควรเว้นระยะประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อให้ร่างกายของน้องแมวแข็งแรงพอ ที่จะรับวัคซีนได้




เมื่อทราบกันไปแล้วว่าโดยปกติแล้วโรค ไข้หัดแมว กี่วันหาย ในส่วนถัดไป ก็เป็นคำถามที่สร้างความกังวลใจ ให้กับท่านเจ้าของแมวอยู่ไม่น้อยว่า ถ้าหากแมวของเราติดไข้หัดแมวมาแล้ว จะสามารถหายขาดได้หรือไม่ ?

โดยความจริงแล้ว เชื้อ Feline Parvovirus นั้น สามารถถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ทั้งหมด จากภูมิคุ้มกันของน้องแมวเอง แต่ความน่ากลัวของเชื้อไวรัสตัวนี้คือ มักจะทำลายเม็ดเลือดขาว ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก และผนังลำไส้ ซึ่งหากเม็ดเลือดขาวถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมาก จะทำให้น้องแมวมีภูมิคุ้มกันต่ำลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่นๆ แทรกซ้อนตามขึ้นมาได้อีกมากมาย ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้โรคไข้หัดแมว เป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเมื่อได้รับเชื้อ

อย่างไรก็ตาม สำหรับแมวบางตัวที่ฉีดวัคซีนครบ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ดี อาจไม่มีอาการเกิดขึ้นให้เห็นเลย เนื่องจากร่างกายสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้หมด โดยยังไม่ถึงขั้นแสดงอาการ

ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือการใส่ใจความสะอาดในบริเวณที่เลี้ยงน้องแมว เพราะว่าเชื้อ Feline Parvovirus สามารถทำความสะอาดได้ด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้

  1. น้ำยาซักผ้าขาว (6% aqueous sodium hypochlorite) ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:32

  2. อ็อกซิโปร หรือ Potassium Peroxymonosulfate ผสมน้ำ 1:200 (มีความปลอดภัยกับทั้งคน และสัตว์)

โดยควรทำความสะอาดพื้นผิว กรง หรือชามอาหารอยู่เป็นประจำ มากไปกว่านั้นการพาแมวของคุณไปฉีดวัคซีนให้ครบ ตามที่สัตวแพทย์กำหนดตั้งแต่แรกเกิด ก็ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลงได้มาก เพียงทำตามวิธีเหล่านี้ น้องแมวตัวโปรดของคุณ ก็จะแข็งแรง และห่างไกลจากโรคร้ายนี้ได้อย่างแน่นอน


ไม่ต้องกังวลว่า ไข้หัดแมว กี่วันหาย เพราะ Thonglor Pet Hospital ช่วยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าอาการไข้หัดแมวนั้น เป็นโรคร้ายแรง ที่สามารถเกิดขึ้นได้หากเจ้าของ ขาดการดูแลเอาใจใส่น้องแมว ไม่พาไปฉีดวัคซีน หรือละเลยต่อความสะอาด ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้ เราก็ได้นำข้อมูลความรู้มาแบ่งปันให้ท่านเจ้าของได้ปฏิบัติตาม และสังเกตอาการน้องแมวตัวโปรดของท่าน แต่ถ้าหากพบอาการผิดปกติรุนแรง แนะนำว่าควรพามาพบสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคสำหรับแมวโดยตรง เพื่อหาสาเหตุ และทำการรักษาอย่างตรงจุด ซึ่งทาง โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ก็มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรง รวมถึงมีห้องสำหรับแมว, Playground สำหรับผ่อนคลาย และแผนกที่ดูแลแมวของคุณได้อย่างครบวงจร

ที่สำคัญที่สุด คือโรงพยาบาลของเรา เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง! เพราะเคสอุบัติเหตุ และอาการเจ็บป่วย ไม่ได้เกิดขึ้นกับมนุษย์เท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นกับสัตว์ได้ ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ จึงกลายเป็นสถานพยาบาล ที่คนรักสัตว์ทั้งหลายจะนึกถึงเป็นที่แรก จากความสำเร็จในข้างต้น จึงได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นไปตามหลักคุณภาพสากล


Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor