นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

โรคฮีทสโตรกในสุนัขและแมว: อันตรายที่มาพร้อมหน้าร้อน

สุนัข ,แมว 22 สิงหาคม 2567 7,001 ครั้ง

โรคฮีทสโตรกในสุนัขและแมว: อันตรายที่มาพร้อมหน้าร้อน

ในช่วงที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิพุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป สัตว์เลี้ยงของเรามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคฮีทสโตรก ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรระมัดระวังและเตรียมพร้อมรับมือ

อะไรคือโรคฮีทสโตรกในสุนัขและแมว?

"ฮีทสโตรก" หรือโรคลมแดด คือ การที่ร่างกายของสัตว์เลี้ยงสูญเสียการระบายความร้อน
เมื่อร่างกายของสุนัขและแมวไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลกระทบให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ระบบหายใจล้มเหลว ซึ่งอาการฮีทสโตรกในหน้าร้อนนี้นอกจากมนุษย์แล้วยังสามารถเกิดขึ้นได้ในสัตว์เลี้ยงเช่นกัน โดยเฉพาะกับน้องหมาและน้องแมวจะเกิดขึ้นง่ายและมีอาการค่อนข้างรุนแรง

อาการของโรคฮีทสโตรกในสุนัขและแมว

สัญญาณอันตรายน้องสุนัขเป็นฮีทสโตรก

  • อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศา 
  • ลิ้นและเหงือกมีสีแดง 
  • น้ำลายยืดและอาเจียน 
  • เดินเซ อ่อนแรง 
  • เป็นลมหมดสติ
  • หอบหายใจเร็ว

สัญญาณอันตรายน้องแมวเป็นฮีทสโตรก 

  • เลียขนบ่อย 
  • อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศา 
  • กระวนกระวาย 
  • หอบหายใจเร็ว 
  • เหงื่อออกที่อุ้งเท้า 
  • ลิ้นและปากมีสีแดง

 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

      
  • ย้ายสัตว์เลี้ยงไปยังที่เย็น พาสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
  • ใช้น้ำเย็นช่วยลดอุณหภูมิ
    • ใช้น้ำเย็น (ไม่ใช่น้ำเย็นจัด) ราดตัวสัตว์เลี้ยงเบาๆ 
    • เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น โดยเฉพาะบริเวณใต้อุ้งเท้า รักแร้ และขาหนีบ
    • ห้ามใช้ผ้าเปียกคลุมตัว เพราะจะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี
  • ให้ดื่มน้ำให้สัตว์เลี้ยงดื่มน้ำเย็นทีละน้อย ระวังอย่าให้ดื่มเร็วเกินไปเพราะอาจทำให้อาเจียน
  • พาไปพบสัตวแพทย์ แม้อาการภายนอกจะดีขึ้น ควรพาไปตรวจเพื่อประเมินความเสียหายภายในร่างกายที่อาจเกิดจากความร้อน

วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรก

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงอากาศร้อนจัด
  • เตรียมน้ำดื่มเย็นให้พร้อมเสมอ อาจเพิ่มน้ำแข็งก้อนเล็กๆ
  • จัดที่พักให้เย็นสบาย เช่น เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
  • ใช้แผ่นเจลเย็นช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย

เทคนิคคลายร้อนป้องกันการเกิดโรคฮีทสโตรก

1. ดื่มน้ำเย็นคลายร้อน
วิธีนี้เบสิกสุดๆ การให้น้องกินน้ำเย็นคลายร้อน ค่อยๆให้ในปริมาณทีละน้อย หากให้น้ำในปริมาณมากและเร็วเกินไปก็อาจทำให้น้องอาเจียนได้
2. ใช้เบาะนอนสำหรับเก็บความเย็น  
เบาะนอนแบบเก็บความเย็นนี้จะมีแผ่นเจลอยู่ในตัวเบาะ เวลาจะใช้ก็ให้นำเบาะไปแช่ตู้เย็นไว้ซักพัก เบาะนอนจะสามารถเก็บความเย็นได้ 3-4 ชั่วโมง 
3. นำผ้าชุบน้ำแข็งหรือน้ำเย็น คลุมกรง
ใช้ผ้าชุบน้ำแข็งหรือน้ำเย็น บิดให้หมาดแล้วคลุมไว้เหนือกรง ไอเย็นจะเคลื่อนตัวลงมากรงของน้อง ซึ่งจะเป็นวิธีคลายร้อนให้น้องแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เน้นที่การคลายร้อนให้ตัวน้องโดยตรง ซึ่งจะปลอดภัยกว่าการให้น้องปะทะกับความเย็นโดยตรง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคปอดบวมได้
 4. ใช้น้ำเย็นเช็ดตัว แต่ไม่ควรเป็นน้ำที่เย็นจัด
เช็ดตัวน้องโดยเฉพาะบริเวณผิวหนังใต้อุ้งเท้าและใต้ท้อง หรือบริเวณใต้รักแร้ ขาหนีบ เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนดีขึ้น 
ให้อุณหภูมิร่างกายในตัวน้องลดลง แต่ห้ามใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำอุ่น เนื่องจากน้ำเย็นจัดจะทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้การระบายความร้อนเป็นไปได้ยาก และน้ำอุ่นจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและอาจเกิดภาวะช็อกได้ 
นอกจากนี้ไม่ควรใช้ผ้าชุบน้ำคลุมตัวสัตว์เลี้ยง เนื่องจากทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดี และอาจเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายสัตว์เลี้ยงได้ รวมทั้งไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงไปแช่น้ำในอ่างเพราะอาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายได้อีกด้วย
5. ให้น้ำน้องอย่างสม่ำเสมอ 
วิธีนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเจ้าของไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือต้องหมั่นให้น้ำลูกรักอย่างสม่ำเสมอ และต้องเปลี่ยนน้ำที่จะให้น้องกินบ่อยๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

สรุปโรคฮีทสโตรก

ภาวะฮีทสโตรกในช่วงหน้าร้อนเป็นโรคที่ร้ายแรงต่อน้องๆมากๆ เพราะประเทศไทยมีอากาศที่ร้อนตลอดเวลา เจ้าของต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมน้องๆว่ามีอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคฮีทสโตรกไหม รวมไปถึงช่วงนี้ควรงดทำกิจกรรมกลางเเจ้งในหน้าร้อนเพื่อความปลอดภัยของน้องๆ การรู้วิธีป้องกันและปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถช่วยชีวิตสัตว์เลี้ยงของคุณได้ หากสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงมีอาการของโรคฮีทสโตรก ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด


 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor