นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

โรคสะบ้าเคลื่อนในแมว

แมว 10 มีนาคม 2566 19,173 ครั้ง

โรคสะบ้าเคลื่อนถือเป็นสาเหตุของอาการเจ็บขาที่พบมากที่สุดโรคหนึ่งในโรงพยาบาลสัตว์ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว แม้ว่าในแมวจะพบได้น้อย แต่ก็เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมวเดินผิดปกติ และทำให้น้องแมวเจ็บปวดได้


โรคสะบ้าเคลื่อนคือภาวะที่กระดูกสะบ้าที่โดยปกติจะวางตัวอยู่ในร่องกระดูกส่วนหน้าของข้อเข่าของขาหลังทั้ง 2 ข้าง เกิดการหลุดออกจากร่องกระดูกไปอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถเคลื่อนเข้าทางด้านในหรือด้านข้างของข้อเข่าก็ได้ อาจเป็นแค่ข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดพร้อมกันทั้ง 2 ข้างเลยก็ได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในแมวจะพบว่าเกิดลักษณะเคลื่อนเข้าทางด้านในมากกว่าออกด้านข้าง

ภาวะสะบ้าเคลื่อนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ 

  • ระดับที่ 1 กระดูกสะบ้ายังคงอยู่ในร่องของกระดูกข้อเข่าตามปกติ แต่เมื่อทําการออกแรงผลักกระดูกสะบ้าพร้อมกับบิดข้อเท้าจะทําให้สะบ้าหลุดออกจากร่องได้
  • ระดับท่ี 2 กระดูกสะบ้ายังวางตัวอยู่ในร่องกระดูกข้อเข่า แต่สามารถหลุดออกจากร่องกระดูกเมื่อทําการบิดข้อเท้าออกจากแนวของรองกระดูก 
  • ระดับที่ 3 กระดูกสะบ้าวางตัวอยู่นอกร่อง แต่สามารถผลักกระดูกสะบ้าให้กลับเข้ามาอยู่ในนร่องได้
  • ระดับที่ 4 กระดูกสะบ้าวางตัว อยู่นอกร่อง โดย ไม่สามารถผลักกระดูกสะบ้าให้กลับเข้ามาในร่องได้อีก

อาการของแมวที่เกิดภาวะสะบ้าเคลื่อนค่อนข้างหลากหลายขึ้นอยู่กับระดับการเคลื่อนของสะบ้าโดยถ้าเป็นในระดับท่ี 1 และ 2 แมวจะแสดงอาการเจ็บขาหลังหรือเดินขาหลังกะเผลกเป็นคร้ังคราวแต่ถ้าเป็นในระดับที่3 และ4 จะเริ่มพบว่าแมวไม่สามารถเหยียดขาหลังได้ตามปกติหรือมีอาการผิดรูปของขาหลังเลยก็ได้ 

สาเหตุของโรคสะบ้าเคลื่อนในแมว 

แบ่งเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด หรือเกิดจากการบาดเจ็บ หรืออาจเกิดจากทั้ง 2 สาเหตุร่วมกันก็ได้ โรคสะบ้าเคลื่อนสามารถพบได้ในแมวทุกสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์แมวที่อาจพบได้มาจากสาเหตุทางพันธุกรรมคือแมวพันธุ์เดวอนเร็กซ์และแมวอะบิสซิเนียน

วิธีการวินิจฉัย

สามารถทําได้โดยการคลําตรวจโดยการบิดข้อเท้าขาหลังและผลักสะบ้าออกจากร่องนอกจากนี้ยังสามารถใช้การถ่ายภาพรังสีในการตรวจหาการผิดรูปของกระดูกขาหลังและดูลักษณะการอักเสบของไขข้อร่วมด้วย

วิธีการรักษา 

สามารถทําได้ทั้งการผ่าตัด และแบบไม่ต้องผ่าตัด ขึ้นกับระดับและความรุนแรง ดังนั้นเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันก่อนที่น้องแมวจะเป็นโรคสะบ้าเคลื่อนในระดับที่รุนแรงเสียก่อน หากพบว่าน้องแมวเริ่มเดินผิดปกติไปหรือมีอาการที่สงสัยว่ามีความเจ็บปวดควรรีบพาน้องๆมาตรวจเช็คกับสัตวแพทย์นะคะ



Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor