นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงในสัตว์เลี้ยง

29 พฤษภาคม 2567 640 ครั้ง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงส่งผลทำให้หัวใจไม่สามารถบีบตัวได้ตามปกติทำให้ให้มีเลือดคั่งค้างอยู่ในห้องหัวใจโดยมีหลายปัจจัยของการเกิดโรค

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ส่งผลทำให้หัวใจไม่สามารถบีบตัวได้ตามปกติ ทำให้ให้มีเลือดคั่งค้างอยู่ในห้องหัวใจ และห้องหัวใจขยายขึ้นรวมไปถึงเลือดที่ออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ลดลง โดยมีหลายปัจจัยของการเกิดโรค เช่น การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะกรดอะมิโนทอรีน การติดเชื้อบางชนิด การได้รับสารพิษหรือยาที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นตามพันธุกรรมโดย มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่นพันธุ์ โดเบอร์แมน  บ๊อกเซอร์  กรท เดน ค็อกเกอร์ สแปเนียล เป็นต้น

เนื่องจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (ชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่) เป็นโรคที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจบาง ห้องหัวใจใหญ่ขึ้น หัวใจบีบตัวส่งเลือดออกได้ไม่ดีทำให้การส่ง อ๊อกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายได้ลดลง สุนัขจึงมักจะแสดงอาการอ่อนแรงนอนเยอะไม่อยากทำกิจกรรม น้ำหนักตัวลดลง หรือเป็นลมเมื่อตื่นเต้นได้  เมื่อส่งเลือดออกจากหัวใจไม่ดีทำให้มีเลือดสะสมอยู่ในหัวใจมากขึ้นส่งผลให้สุนัขมีอาการไอ หายใจลำบากจากภาวะหัวใจล้มเหลวน้ำท่วมปอดได้  นอกจากนี้ยังเกิดภาวะท้องมานได้จากเลือดคั่งค้างที่ไม่สามารถเข้าหัวใจได้อีกด้วย ในกรณีที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจบางและขยายตัวมากสามารถทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจหยุดเต้นเสียชีวิตเฉียบพลันได้

การตรวจวินิจฉัย

  • สามารถทำได้โดยการตรวจร่างกายจะทำให้ได้ยินเสียงหัวใจที่ผิดปกติ  
  • การX-RAY ช่องอกเพื่อดูขนาดหัวใจและประเมินภาวะน้ำท่วมปอด  
  • การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การวินิจฉัยในกรณีที่สุนัขยังไม่แสดงอาการที่ดีที่สุดคือกาตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiography) จะสามารถบ่งบอกความสามารถในการบีบตัวของหัวใจและ ขนาดห้องหัวใจได้อย่างดีที่สุด

การรักษาของโรคนี้จะขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่ได้จากการตรวจวินิจฉัย โดยในเริ่มแรกที่พบการบีบตัวของหัวใจลดลง แต่ยังไม่พบภาวะหัวใจล้มเหลวน้ำท่วมปอดสามารถให้ยาในกลุ่มที่ช่วยเพิ่มการบีบตัวของหัวใจเพื่อชะลอการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ในกรณีที่สุนัขเข้าสู่ระยะที่พบการบีบของหัวใจที่ลดลง ห้องหัวใจขยายใหญ่และภาวะหัวใจล้มเหลวน้ำท่วมปอดแล้ว จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในภาวะฉุกเฉินสุนัขควรได้รับ อ๊อกซิเจนและยาขับปัสสาวะอย่างเหมาะสม เมื่อพ้นภาวะฉุกเฉินแล้วสุนัขจำเป็นต้องได้รับรักษากินยาเพื่อเพิ่มการบีบตัว ยาขับปัสสาวะ และยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

 

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor