นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

สุนัขตาขุ่น วิธีรักษา มีแบบไหนบ้าง? ต้องผ่าตัดหรือไม่?

สุนัข ,โรคและการรักษา 28 พฤษภาคม 2567 9,311 ครั้ง

น้องหมาตาขาวขุ่น … น้องเป็นอะไร ? เมื่อคุณพบ สุนัขตาขุ่น วิธีรักษา ทำได้อย่างไรบ้าง ? หลายๆคนที่เลี้ยงน้องหมา อาจเคยเจอว่าลูกๆ เริ่มตาขาวขุ่นขึ้น โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ เจ้าของหลายคนอาจจะกลัวว่า สุนัขเป็นต้อกระจก หรือ ไม่ แต่รู้มั้ยครับว่า อาการตาขุ่น อาจไม่ได้เกิดจากโรคต้อกระจก เพียงอย่างเดียว อาจเป็นสาเหตุอื่นได้ด้วย ซึ่งอาจรักษาหายได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด อาการตาขาวขุ่น อาจเป็นอาการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเจ็บปวด และอาจเป็นสัญญาณ ถึงโรคของดวงตาบางอย่าง  ซึ่งทิ้งไว้อาจรุนแรง ถึงขั้นนำไปสู่ การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ในที่สุด  

โดยการเกิดภาวะตาขุ่นนั้น สามารถเกิดได้หลายบริเวณของดวงตา อย่างเช่น กระจกตา น้ำในลูกตา เลนส์ตา หรือเนื้อวุ้นตา เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงของแต่ละตำแหน่ง อาจรุนแรงแตกต่างกันไป  ส่วนสาเหตุที่พบได้บ่อย ที่ทำให้น้องหมาตาขุ่น เป็นฝ้าขาวนั้น อาจเกิดได้ดังนี้ 

  1. ปัญหาดวงตาจากอายุที่มากขึ้น (Aging Change) – เมื่ออายุมากขึ้น เลนส์ตาอาจขุ่นขึ้นจากการเสื่อมตามอายุ (Nuclear Sclerosis) หรือ เป็นต้อกระจก (Cataract) ภาวะกระจกตาบวมน้ำ จากการเสื่อมของชั้นกระจกตา หรือ ภาวะต้อหิน (Primary Glaucoma) เป็นต้น

  2. ได้รับการบาดเจ็บที่ดวงตา (Traumatic Injury) หรือ ติดเชื้อที่ดวงตา เช่น มีแผลที่กระจกตา (Corneal ulcer) หรือ มีแผลเป็นที่กระจกตา (Corneal Scar) เกิดตามมาจากการเป็นแผล , ภาวะม่านตาอักเสบ (Uveitis)

  3. เกิดโรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญในร่างกายผิดปกติ เช่น โรคเบาหวาน อาจส่งผลให้เกิดโรคต้อกระจก (Diabetic Cataract)

  4. โรคไขมันในเลือดสูง อาจส่งผลให้เกิดโรคกระจกตาเสื่อมจากไขมัน (Corneal Lipidosis)

 

โรคกรรมพันธุ์ที่เกี่ยวกับดวงตา (Genetic Eye Disease) โดยสุนัขบางสายพันธุ์มีโอกาสเป็นโรคทางดวงตาประจำสายพันธุ์ได้มากว่าพันธุ์อื่นๆ เช่น 

  • โรคต้อกระจก มักพบในพันธุ์ Boston Terrier , French Bulldog, Schnauzer, Poodle , Cocker Spaniel, Labrador, Siberian Husky

  • โรคกระจกตาเสื่อม มักพบในพันธุ์ Shetland Sheepdog, Cocker Spaniel, Cavalier King Charles Spaniel, Samoyed , Boston Terrier, Chihuahau, และ Dachshund เป็นต้น 

  • ภาวะตาแห้ง (dry eye) สามารถทำให้เกิดการอักเสบที่กระจกตา ทำให้ดวงตามัวขาวขุ่น มีขี้ตาตามมาได้ โดยมักจะพบในสุนัขพันธุ์ Shih Tzu Yorkshier Terrier หรือ Pug  เป็นต้น


สุนัขตาขุ่น มีอาการ และวิธีรักษาอย่างไร


เมื่อ สุนัขตาขุ่น วิธีรักษา ที่ถูกต้องเราควรทำอย่างไรดี ? น้องหมาอาจเริ่มมีอาการเจ็บตา ตามัว หากเริ่มเป็นไม่มาก อาจสูญเสียการมองเห็นบางส่วน แต่หากเป็นเรื้อรังทิ้งไว้นานหรือในบางรายที่เกิดจากสาเหตุรุนแรง เช่น ต้อกระจก ม่านตาอักเสบ เป็นแผลติดเชื้อที่กระจกตารุนแรง หรือต้อหินอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ดังนั้นเจ้าของจึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติเหล่านี้ 

หากพบให้รีบพาน้องไปรพ.เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างทันถ้วงที แนวทางการรักษาส่วนมากจะเป็นการรักษาตามสาเหตุที่เป็น เช่น หากเป็นภาวะเลนส์ตาขุ่นขึ้นตามอายุ เลนส์ตาเริ่มขุ่นเป็นสีฟ้าหรือเทา น้องยังสามารถมองเห็นไม่ทำให้ตาบอดแต่อย่างใด โดยมีผลต่อการมองเห็นเพียงระยะไกลเท่านั้น อาจยังไม่ต้องทำการรักษา แต่ต้องคอยตรวจเช็คเรื่องต้อกระจกอย่างสม่ำเสมอ ต่อมาถ้าเป็นภาวะต้อกระจก เริ่มเป็นระยะรุนแรงจนมองไม่เห็นเพราะเลนส์ตาทึบแสงขาวขุ่นไปทั้งหมด 

วิธีรักษาคือ ผ่าตัดสลายเอาเลนส์เก่าออก และเปลี่ยนเลนส์เทียมเข้าไปใหม่เท่านั้นน้องหมาจึงจะกลับมามองเห็นได้ ส่วนภาวะตาแห้งน้องจะมีขี้ตา ตาแดง ตาแฉะจะจัดการโดยการใช้การหยอดตากลุ่มน้ำตาเทียมและกระตุ้นน้ำตา ภาวะกระจกตาเสื่อมหรือบวมน้ำอาจใช้ยาหยอดตาช่วยลดการบวมน้ำบรรเทาอาการได้  ส่วนภาวะที่ถือว่ารุนแรงต้องรีบทำการรักษาโดยด่วนอย่างเช่น แผลที่กระจกตาต้องหยอดตาเพื่อรักษาแผลคุมการติดเชื้อ หรือหากเป็นแผลลึกอาจต้องผ่าตัดเย็บกระจกตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อในดวงตาจนทำให้ตาบอดได้ 

ภาวะม่านตาอักเสบ และต้อหิน อาจต้องให้ยาหยอดตาลดการอักเสบ หรือยาลดความดันตา ในบางรายต้องใช้เลเซอร์เพื่อลดความดันภายในลูกตาเพราะจะมีอาการเจ็บปวดตามากเวลาที่เป็นรุนแรง เป็นต้น 


ภาวะตาขุ่นที่เกิดจากภาวะต้อกระจก (Cataract)

“ต้อกระจก” เป็นภาวะที่ใช้เรียกเลนส์ตา (แก้วตา) ที่มีความขุ่น ซึ่งมักจะเห็นเป็นสีขาวขุ่น หรือ สีเหลืองผิดไปจากธรรมชาติ หากเป็นระยะท้ายสุนัขจะไม่สามารถมองเห็นได้ เพราะเลนส์ตาที่ขุ่นบังการรับภาพ และแสงที่ผ่านเข้าในตาอยู่ 

ขั้นตอนการตรวจและวินิจฉัยภาวะต้อกระจกที่โรงพยาบาล :

  1. ตรวจตา สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยดวงตาอย่างละเอียดเพื่อจำแนกชนิด ตำแหน่งและความรุนแรงของต้อกระจก รวมถึงมีการวัดความดันตา ตรวจเนื้อวุ้นตา และจอประสาทตาโดยละเอียด

  2. ตรวจเลือด  ตรวจเบาหวาน

  3. ตรวจประเมินสภาวะหัวใจ โดยการ X-Ray ช่องอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (สำหรับสุนัขอายุมาก)

  4. Ultrasound ดวงตาเพื่อประเมินการเสื่อมของเนื้อวุ้นตา โครงสร้างจอประสาทตา และวัดขนาดเลนส์เทียมที่จะเปลี่ยนใส่ใหม่

  5. ERG ตรวจจอประสาทตาเพื่อประเมินการทำงานของจอประสาทตาว่ามีการเสื่อมหรือไม่ และการมองเห็น


การรักษาภาวะต้อกระจกในสุนัข 

การรักษาทางยา เช่น การใช้ยาชะลอต้อกระจกหยอดตา หรือทานวิตามินต่างๆ ไม่มีงานวิจัยรับรองว่ามีส่วนช่วยในการรักษาภาวะต้อกระจก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) แล้วใส่เลนส์ตาเทียมให้กับสัตว์ป่วย โดยเป็นการผ่าตัดที่ใช้เทคนิคเช่นเดียวกับในคน โดยเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ซึ่งแผลมีขนาดเล็ก 3 mm (สำหรับไม่มีเลนส์เทียม) และ 4.5 mm (สำหรับแบบใส่เลนส์เทียม) หลังการผ่าตัดสุนัขจะกลับมามองเห็นได้โดยทันที

โดยสรุปหากเจ้าของเริ่มสังเกตภาวะที่น้องเริ่มตาขุ่น มัวขึ้นกว่าเดิม แม้เพิ่งเริ่มเป็น อาการยังไม่รุนแรง ยังไม่มีอาการเจ็บตา ก็ควรต้องรีบปรึกษาคุณหมอและอาจต้องรีบพามาพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินความรุนแรง และรีบทำการรักษาตามสาเหตุ ไม่ควรหาซื้อยาจากร้านขายยามาหยอดเอง เพราะหากเกิดจากสาเหตุที่รุนแรงตามภาวะข้างต้นที่กล่าวมา อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียของดวงตาน้องหมาโดยถาวรได้


ThonglorPet โรงพยาบาลสัตว์ ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ท่านเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่เป็นห่วงสัตว์เลี้ยง และต้องการที่ปรึกษาพร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งบริการแบบ Online และ Onsite แบบครบครัน เราขอแนะนำ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ  ทางเรามีบริการศูนย์รักษาโรคที่ครบครัน เช่น ศูนย์ผิวหนัง ภูมิแพ้ โรคหัวใจแมว และ โรคสุนัขตาขุ่น ที่สำคัญยังอยู่ใกล้ชิด โดยทีมสัตวแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเจ็บป่วยในยามไหน เราก็พร้อมเข้าดูแลสัตว์เลี้ยงที่รักของคุณตลอดเวลา (กรุณานัดหมายล่วงหน้า)

นอกเหนือจากนี้ทางทีมสัตวแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของทางโรงพยาบาล ยังผ่านการฝึกอบรมเรื่องการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดี ทำให้มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของคุณ จะมีความสุข และปลอดภัยระหว่างที่คุณต้องเดินทางไกล หากสนใจใช้บริการรับฝากสัตว์เลี้ยง หรือบริการอื่นๆ สามารถติดต่อที่รายละเอียดด้านล่างได้ทันที



Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor