นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

ลิวคีเมียในแมว เสี่ยงหมดทุกเพศทุกวัย

แมว 17 ตุลาคม 2567 10,463 ครั้ง

ลิวคีเมียในแมว เสี่ยงหมดทุกเพศทุกวัย

 เสี่ยงหมดทุกเพศทุกวัยสำหรับโรคลิวคีเมียในแมว ทุกคนทราบดีว่าลิวคีเมียหรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นหนึ่งในโรคที่สามารถพบได้ในแมวทุกช่วงวัยนอกจากนี้แมวทุกตัวยังมีความเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ด้วยเช่นกัน  



ระยะของโรคลิวคีเมียในแมว 

นั้นไม่ได้เฉพาะเจาะจงต่อระบบใดระบบหนึ่ง โดยที่ลิวคีเมียจะแบ่งเป็นระยะย่อยของโรคได้ถึง 4 ระยะ  ได้แก่

  •  Progressive (มีไวรัสในกระแสลือด) ตัวเชื้อจะทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ ตามมาได้หลายประการ อาทิ โลหิตจาง ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และนอกจากนั้นยังเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งมากกว่าแมวปกติถึง 40 เท่า ต่อมาคือ
  • ระยะ regressive ตัวไวจะถูกจำกัดอยู่แค่ต่อมน้ำเหลืองเท่านั้น ทำให้ตรวจไม่พบด้วยชุดทดสอบ ต้องใข้วิธี PCR ในการตรวจคัดดรอง และในระยะนี้มักไม่ค่อยพบภาวะ มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia-associated disease) 
  • ระยะ Abortive คือหายจากโรค
  • ระยะ focal infection ในการติดเชื้อที่จำกัดแค่เพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง

อาการของโรคลิวคีเมียในแมว

  • มีไข้ 
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ 
  • น้ำหนักลด 
  • ท้องเสียบ่อย 
  • เหงือกอักเสบ 
  • มีภาวะโลหิตจาง 

การตรวจวินิจฉัย

  • ตรวจเลือดน้องด้วยชุดทดสอบ point of care test kit จะทราบตรวจผลภายใน 10 นาที ในกรณีที่แมวมีความเสี่ยงสูง ควรซ้ำอีกครั้ง ใน 4-6 สัปดาห์ และตรวจ  PCR ในกรณีที่แมวให้ผล ลบ กับชุดทดสอบ แต่มีความเสี่ยงสูง และจะนำไปเป็นผู้ให้เลือด (donor) หรือต้องเลี้ยงรวมกันในฝูงขนาดใหญ่ เป็นต้น โดยที่ PCR สามารถให้ผลบวกในแมวได้ใน  2 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ในขณะที่ชุดทดสอบ จะใช้เวลา 4 - 6 สัปดาห์ ในการพบเชื้อในกระแสเลือด และมีความจำเป็นต้องตรวจยืนยันหลายครั้งในการสรุปผลในแมวที่มีความเสี่ยงสูง ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
  • เจาะเลือดดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ไม่ได้ยืนยันโรค)
  • ตรวจการทำงานของตับและไต (ไม่ specific)

โรคนี้สามารถป้องกันได้โดย

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน  เพราะในปัจจุบันวัคซีนลิวคีเมีย จัดเป็นโปรแกรมวัคซีนหลัก (core vaccination) ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและการพัฒนาให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคลิวคีเมีย (leukemia-associated diseased) โดยก่อนที่จะทำวัคซีนลิวคีเมีย จะต้องทำการตรวจเลือดเพื่อให้แน่ใจก่อนว่า น้องแมวไม่ได้มีการติดเชื้ออยู่ก่อนแล้ว 

  • เลี้ยงในบ้าน  เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากน้องแมวนอกบ้าน  

  • จับแยก ไม่ใช้ชามอาหาร และกระบะทรายร่วมกัน เพราะสามารถติดได้ทางสารคลั่งหลั่งในร่างกายหากว่าน้องแมวที่บ้านเกิดการติดเชื้อ ให้ทำการจับแยกออกจากแมวที่มีอยู่ในบ้าน เพื่อไม่ให้ตัวอื่นติดไปด้วย



    คลิกเพื่อดูแพ็กเกจวัคซีน : https://tlpet.club/3SfE6Kg


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่แนะนำ
Avatar
การฉีดวัคซีนรวมสุนัข และแมวถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากมีโรคหลายชนิดที่เป็นแล้วรักษาได้ยาก หรือเป็นแล้วมีโอกาสที่สุนัขและแมวของเราจะเสียชีวิตได้สูง ดังนั้นการฉีดวัคซีนหมาและฉีดวัคซีนแมว จึงเป็นวิธีป้องกันโรคต่างๆ ให้ห่างไกลจากสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก