นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

วิธีการพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน

สุนัข ,แมว ,ไลฟ์สไตล์ 26 ธันวาคม 2565 16,576 ครั้ง

Ladies and Gentleman  ขอต้อนรับผู้โดยสารสี่ขาทุกท่านสู่เครื่องบินที่พร้อมจะออกเดินทางพาท่านเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวนี้แล้ว กรุณาปรับพนักพิงขึ้นให้ตรงรัดเข็มขัดให้เรียบร้อยและออกบินไปพร้อมกันได้เลยค่ะ  อ๊ะๆๆก่อนที่เราจะไปเที่ยวกันนั้นเรามาดูวิธีการพาลูกรักสี่ขาของเราขึ้นเครื่องกันก่อนดีกว่าค่ะ  

ข้อกำหนดในการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน (สำหรับภายในประเทศ)  

  • สัตว์เลี้ยงต้องแข็งแรงสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย และไม่ตั้งครรภ์  
  • สัตว์เลี้ยงต้องมีอายุมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป  
  • สัตว์เลี้ยงต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  
  • สัตว์เลี้ยงต้องอยู่ในกรงที่เป็นมาตราฐานสากล ขนาด 55 x 37 x 30 ซม. หรือ 22 x 15 x 12 นิ้ว

รายละเอียดของกรงที่ใช้พาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน 

  1. ตัวกรงจะต้องกว้างมากพอให้สัตว์เลี้ยง ยืน นอน หรือพลิกตัวได้ 
  2. ประตูกรงจะต้องแข็งแรงและแน่นหนาเพื่อกันสัตว์เลี้ยงเปิดออกเองได้ 
  3. กรงต้องแข็งแรงในการป้องกันสัตว์เลี้ยงของท่านระหว่างเครื่องขึ้นและลงจอด โดยจะต้องมีด้าน 3 ด้านเป็นอย่างต่ำ  
  4. ข้างๆกรงสัตว์เลี้ยงจะต้องติดคำอธิบายในการให้อาหารสัตว์เลี้ยงให้ชัดเจน 
  5. ติดชื่อเบอร์โทรเจ้าของที่กรงและควรติดคำว่า “Pet in cage”  กับลูกศรชี้ที่กรงในทิศทางที่ถูกต้อง
  6. จำนวนสัตว์เลี้ยง 1 กรงต่อ 1 ตัวเท่านั้น 

ทาสหมาแมวอย่างเราต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง ?

  • ศึกษาเที่ยวบินที่เราจะไปว่าในแต่ละสายการบินมีวิธีการพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องอย่างไรบ้าง บ้างสายการบินก็สามารถพาน้องนั่งไปข้างๆได้แต่ต้องอยู่ในกระเป๋าตลอด บางสายการบินก็ไม่อนุญาติเพราะแบบนี้เราจึงต้องศึกษาระเบียบการและข้อปฏิบัติของสายการบินให้ดีค่ะ

  • เมื่อเราได้สายการบินที่จะทำการเดินทางแล้วอย่าลืมจองพื้นที่ในการเดินทางสำหรับน้องๆให้เรียบร้อย ซึ่งข้อนี้ต้องเป็นไปตามกฏของแต่ละสายการบินนะคะ  

  • พาสัตว์เลี้ยง ไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก่อนที่จะบินให้เรียบร้อยว่าสุขภาพของๆน้องๆนั้นเเข็งแรงไม่มีโรค ไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือว่าบาดเจ็บในส่วนใด

  • เข้ารับคำปรึกษาจากสัตวแพทย์อย่างละเอียดเพื่อนำไปใช้ในการดูแลสัตว์เลี้ยงของเราเมื่ออยู่บนเครื่องบิน หรือ ขอรับคำปรึกษาว่าสายพันธุ์น้องๆที่เราเลี้ยงนั้นเหมาะกับการขึ้นเครื่องบินไหม เช่น สุนัขหรือแมวพันธุ์หน้าสั้นจมูกสั้น ก็ไม่เหมาะกับการขึ้นเครื่องบิน เพราะ จะมีปัญหาด้านการหายใจระหว่างเดินทางบนเครื่องเนื่องจากอุณภูมิที่สูง 

  • พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนเดินทาง 1 อาทิตย์ 

  • เตรียมสมุดวัคซีนและข้อมูลส่วนตัวของสัตว์เลี้ยงให้เรียบร้อย 

  • เตรียมกรงสำหรับใช้ในการเดินทางในครั้งนี้ ซึ่งกรงต้องได้ตามมาตราฐานสากล 

3 วิธีการเดินทางโดยเครื่องบินสำหรับสัตว์เลี้ยง 

  • pet in cabin  คือการที่เราสามารถพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินไปและนั่งในห้องโดยสารไปพร้อมกับเราได้ ซึ่งต้องมี

1..มีน้ำหนักรวมกรงไม่เกิน 10 กิโลกรัม

2..มีแค่บางสายการบินที่สามารถทำได้

  • Checkin Baggage (AVIH)  คือการส่งสัตว์เลี้ยงแบบสัมภาระโหลดไว้ที่ห้องบรรทุกสัมภาระพิเศษใต้ท้องเครื่องบินที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงและมีระบบรักษาความปลอดภัยพิเศษ  

1.สำหรับสัตว์ที่มีน้ำหนักเกิน 10 กิโลกรัม

2.ต้องนำสัตว์เลี้ยงไป Check-in ที่ Passenger Terminals

  • Unaccompanied Live Pets (ULP)  คือการส่งสัตว์เลี้ยงแบบโหลดเป็นบรรจุภัณฑ์ วิธีนี้จะเหมาะกับสัตว์เลี้ยงที่มีผู้รับอยู่ที่ปลายทาง เช่น เป็นการซื้อขายสัตว์เลี้ยงระหว่างประเทศ  หรือ ขนส่งสัตว์เลี้ยงไปให้ผู้รับที่ปลายทาง  

1.แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้าเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดสำหรับสิ่งมีชีวิต

2.ต้องพาน้องไปส่งที่คลังสินค้าของสนามบิน

3.สำหรับขนส่งน้องหมาขึ้นเครื่องโดยที่เราไม่ได้ไปด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการซื้อขายสัตว์เลี้ยง

เป็นยังไงบ้างคะสำหรับวิธีการพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินตอบโจทย์ชีวิตทาสหมาทาสแมวยุคใหม่แบบเรามากๆเลยใช่ไหมคะ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะพาน้องๆเดินทางคุณเจ้าของต้องทำการติดต่อสายการบินที่จะพาน้องเดินทางไปด้วยเพื่อสอบถามรายละเอียดและอัพเดทวิธีการน้องๆขึ้นเครื่องของแต่ละสายการบินนั้นเพื่อให้เป็นไปตามกฏระเบียบและเพื่อความปลอดภัยระหว่างที่น้องๆเดินทางค่ะ  


ขอขอบคุณข้อมูลจาก ด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  


 

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor