โรคเบาหวาน
22 / May / 2021

โรคเบาหวาน คือ?
โรคเบาหวานคือ ภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินไปเป็นความผิดปกติขแงการผลิตฮฮร์โมนอินซูลิน มักเกิดในสัตว์ที่มีอายุมากๆ โดยเฉพาะเพศเมียและแมวที่ทำหมันแล้ว
สาเหตุ
- ความอ้วน
- พันธุ์กรรม
- ภาวะขาดสารอาหาร
- ความผิดปกติของฮอร์โมน
- เพศ
- ความเครียด
- ใช้ยา
อาการ
- กินน้ำบ่อยกว่าปกติ
- ปัสวะบ่อยครั้ง
- กินอาหารเก่ง แต่น้ำหนักตัวลด
- อ่อนเพลีย
- ซึมลง
- อาเจียน
- สัตว์บางอาการมีอาการเบื่ออาหาร
- อาจทำให้ตาบอดควบคู่กับการมีต้อกระจก(ผสมสีขุ่นขาว)
การวินิจฉัย
เพื่อการติดตามและตรวจโรคเบาเหวาน สัตวแพทย์มักจะนัดให้อดอาหารอย่างน้อย8-12ชั่วโมง เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดและอาจจะต้องมีปัสาวะ เมื่อเริ่มต้นทำการรักษา สัตวแพทย์มักจะแนะนำให้ฝากไว้ที่รพ. 5-7 วัน เพื่อการปรับระดับ อินซูลิน ที่ใช้ฉีดจนกว่าจะได้ขนาดที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงแล้วให้เจ้าของเป็นผู้นำยาไปฉีดต่อที่บ้าน
การให้ฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมโรคเบาหวานจำเป็นต้องมีการนัดมาตรวจน้ำตาลเป็ฯระยะปีละ2-3 ครั้ง เพื่อปรับระดับยาให้เหมาะสม
การักษา
โรคนี้ไม่มีการรักษาที่หายขาดแต่สามารถควบคุมโรคได้โดยการฉีด อินซูลินเหมือนในคนและจัดให้มีการออกกำลังกาย และการควบคุมอาหารบางอย่าง คือ อาหารควรมีระดับกากอาหารในระดับปานกลางถึงสูง เพื่อควบคุมการทำงานของฮอร์โมน อินซูลิน และกากอาหารทำให้ดูดซึมกลูโคสของลำไส้เป็นไปอย่างช้าๆทำให้ช่วยลดปริมาณของกลูโคสให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะในเลือดได้
การแก้ไข้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการที่พบคือ เดินเซ อาการเกร็งตัว แขนขาเยียด ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ชัก หากพบอาการดังกล่าวให้รีบใช้น้ำผึ้งหรือน้ำหวานป้ายที่รอบเลือกและลิ้น หากรู้สึกตัวอาจจะรีบป้อนน้ำผึ้งแล้วนำส่งโรงพยาบาล
การจัดการด้านอาหาร
ควรให้อาหารเฉพาะโรคที่มีระดับพลังงานที่มีกากอาหารในระดับปานกลาง ซึ่งกลุ่มอาหารดังกล่าว จะมโปรตีนสูงและไขมันต่ำทำให้ปริมาณกลูโคสในเลือดต่ำลง การดูแลและการจัดการโรคเบาหวาน
ขั้นที่ 1 ควรให้อาหาร ตามเวลาและปริมาณที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นที่ 2 ฉีดฮอร์โมน อินซูลิน ตามเวลาและปริมาณที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นที่ 3 สัตว์ที่เป็นเบาหวานควรได้รับปริมาณที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นที่ 4 ห้ามให้อาหารอื่นๆ ที่สัตว์แพทย์ไม่ได้แนะนำไว้
ขั้นที่ 5 เจ้าของสัตว์ต้องคอยสังเกตอาการของโรคเบาหวานและการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหรือปัสวะ เป็นระยะนอกจากนี้ควรได้รับยาลดการอักเสบ น้ำตาเทียม ร่วมด้วยเพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
Related Post

เคยนึกสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่า สัตว์เลี้ยงของเราสามารถเป็นโรคไตได้จริงหรือเปล่า? แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร จะเกิดจากการกินอาหารเค็มมากๆ ได้หรือเปล่า ? แล้วถ้าเป็นจะมีแนวรักษาอย่างไร ?

โรคหัวใจเกิดขึ้นได้ทั้งสุนัขและแมว โดยอาจจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจหรือความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด อาการของโรคหัวใจที่เรียกว่าหัวใจล้มเหลว ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ เป็นผลให้เนื้อเยื่อและอวยัวะสำคัญต่างๆ ไปเลี้ยงน้อ

การศัลยกรรมและวางยาสลบในสัตว์เลี้ยง เมื่อได้ยินแล้วคิดว่าหลายๆท่านคงไม่ค่อยสบายใจนักหากสัตว์เลี้ยงของท่านมีอันต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำเหล่านี้ ในความเป็นจริงแล้วความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเครื่องมือทางด้านสัตวแพทย์ได้มีการพัฒนาไปค่อนข้างไกลมาก ดังนั้