นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

รู้หรือไม่? เชื้อราแมว โรคผิวหนังแมวติดต่อสู่คนเลี้ยงได้ด้วยนะ!

แมว ,โรคและการรักษา 26 มกราคม 2566 170,894 ครั้ง

“เชื้อราแมว” นั้นสามารถรักษาได้ไม่ยาก และป้องกันได้     

      ทาสแมวทั้งหลายหาข้อมูลโดยด่วน เพราะโรคผิวหนังแมวนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลย นอกจากจะสามารถติดต่อระหว่างแมวสู่แมวด้วยกันเองแล้ว ยังอาจกลายเป็นปัญหาสำหรับทาสแม่วอย่างเราๆ เพราะสามารถติดต่อสู่คนได้อีกด้วย แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะอาการแมวเป็นเชื้อราหรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เชื้อราแมว” นั้นสามารถรักษาได้ไม่ยาก และป้องกันได้ ถ้าเหล่าทาสแมวอยากรู้แล้วว่าโรคนี้เกิดจากอะไร และมีลักษณะอาการอย่างไร รวมถึงจะมีวิธีการรักษาแบบไหน มาเก็บข้อมูลไปพร้อม ๆ กันเลย!

เชื้อราแมวคืออะไร?

          เชื้อรามีหลายชนิดด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่ที่พบจะเกิดจาก Microsporum Canis ที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการ โดยเชื้อราประเภทนี้มักจะเกิดจากความชื้นสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายของน้องแมว แน่นอนว่าแมวขนยาวจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากกว่าแมวขนสั้น เพราะสามารถเกิดการสะสมความชื้นได้มากกว่า

ลักษณะเชื้อราแมวเป็นอย่างไร?

          ลักษณะอาการของโรคนี้มักจะสังเกตได้ไม่ยาก สังเกตจากบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อจะเป็นผิวหนังที่มีลักษณะแห้ง แดง และอาจจะมีอาการผิวหนังลอก รวมถึงอาการแมวขนร่วงเป็นหย่อมๆ อีกด้วย หากเจออาการเหล่านี้ก็สันนิษฐานได้เลยว่าเจ้าแมวน้อยของคุณอาจจะกำลังเป็นเชื้อราแมวก็ได้นะ หากไม่รีบทำการรักษา คนเลี้ยงแมวอย่างเราๆ ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อราจากน้องแมวได้เหมือนกันนะ!

การติดต่อของโรคจากแมวสู่แมว และแมวสู่คน

          แยกแมวเป็นเชื้อราออกจากน้องแมวที่ยังไม่ป่วยโดยเร็วที่สุด เพราะอาการของเชื้อราสามารถติดต่อกับแมวด้วยกันได้ หากมีแมวที่เลี้ยงรวมกันหลายตัวควรปฏิบัติดังนี้ หากมีแมวตัวใดตัวหนึ่งมีอาการของโรคผิวหนัง

  • พาแมวทุกตัวไปตรวจเพาะเชื้อที่คลินิก
  • แยกแมวติดเชื้อราและไม่ติดเชื้อราออกจากกัน
  • ควรยกเลิกโปรแกรมการผสมพันธุ์ และการพาแมวออกไปนอกสถานที่
  • ควรใช้แชมพูสำหรับรักษาอาการเชื้อราแมวในการอาบน้ำโดยเฉพาะ

          เมื่อทาสแมวก็สามารถติดเชื้อราแมวได้ ซึ่งสามารถเกิดได้จากการสัมผัสโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการลูบ กอด หอม หรือการสัมผัสอื่นๆ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายคือกลุ่มคนเหล่านี้

  • เด็กเล็ก
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

รักษาเชื้อราแมวด้วยวิธีใดได้บ้าง?

          โดยปกติแล้วการรักษาอาการเชื้อราดังกล่าวในแมวนั้นสามารถทำได้ด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อ ใช้แชมพูฆ่าเชื้อแบบเฉพาะ และอาจจะให้กินยาร่วมด้วยจนกว่าจะอาการดีขึ้น ซึ่งมีข้อปฏิบัติดังนี้

  • ให้ยากับน้องแมวกินตามที่สัตวแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
  • หากแมวมีอาการเบื่ออาหาร ซึม ควรหยุดยากินและพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
  • พาน้องแมวไปรับการตรวจร่างกายตามที่สัตวแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

รักษาเชื้อราแมวในคนได้อย่างไร? ป้องกันอย่างไร?

          การรักษาอาการเชื้อราที่ติดมาจากแมวในคนนั้น ส่วนมากจะใช้วิธีทายาฆ่าเชื้อราโดยตรงบนผิวหนัง หากอาการไม่หนักมาก ก็จะดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ แต่ถ้าหากมีรอยแดงเป็นวงๆ เป็นบริเวณกว้าง ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาจจะต้องใช้ยาแบบทาและยากินร่วมกัน

          สำหรับใครที่หายจากอาการแล้ว หรือยังไม่เคยเป็น ก็อย่าลืมป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเชื้อราแมวกันด้วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  • หากพบอาการเบื้องต้นของอาการโรคผิวหนังในแมวที่เลี้ยงไว้ ให้รีบนำไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนที่สุด
  • ทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสกับสัตว์เลี้ยงให้สะอาดเสมอหลังการสัมผัส
  • ดูแลน้องแมวที่เลี้ยงไว้ให้สะอาด อาบน้ำสม่ำเสมอ และเป่าขนให้แห่งทุกครั้งหลังอาบน้ำ
  • ทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงน้องแมว เพื่อไม่ให้มีความอับชื้น
  • เลือกใช้แชมพูหรือครีมอาบน้ำที่ช่วยฆ่าเชื้อบนผิวหนัง
  • หากพบว่าตนเองเริ่มมีอาการตามผิวหนัง ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

          ต่อไปนี้หากเจ้าเหมียวที่บ้านมีอาการคล้ายๆ การเป็นเชื้อรา ทาสทั้งหลายก็อย่าลืมพาเจ้านายไปตรวจและรักการรักษาตั้งแต่พบอาการทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นที่ต้องใช้เวลาในการรักษายาวนาน และจะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะลามจนไปติดแมวตัวอื่นๆ รวมถึงตัวเจ้าของเองด้วย จะได้มีสุขภาพที่ดีทั้งน้องแมวและเจ้านาย

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor