นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

ทำไมต้องฝังไมโครชิพในสัตว์เลี้ยง

สุนัข ,แมว ,ไลฟ์สไตล์ 9 กุมภาพันธ์ 2566 33,801 ครั้ง

ทำไมต้องฝังไมโครชิพในสัตว์เลี้ยง ?


ลูกรักบ้านไหนชอบแอบหนีเที่ยว 
มาตรงนี้กันเลยเรามีเทรนด์มาแรงที่คนรักสัตว์เลี้ยงต้องรู้จัก นั่นคือ การฝังไมโครชิพให้สัตว์เลี้ยง นั่นเอง 
เริ่มมีคำถามสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าการฝังไมโครชิพมันคืออะไร
ทำไมถึงต้องพาสัตว์เลี้ยงไปฝังไมโครชิพด้วย? ถ้าฝังแล้วจะเจ็บไหม? 
วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องนี้รวมไปถึงข้อดีของการฝังไมโคชิพกันด้วยค่ะ 


ไมโครชิพ คือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บรรจุอยู่ในครอบแก้ว (ขนาดประมานเม็ดข้าวสาร) 

และจะมีเลข 15 หลัก ที่จะแสดงข้อมูลส่วนตัวของน้องๆ เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่ เบอร์โทรของเจ้าของสัตว์เลี้ยงตัวนั้น

เมื่อสแกนด้วยเครื่องอ่านรหัสไมโครชิพ (Microchip Reader) คล้ายๆกับว่าตัวไมโครชิฟนั้นเป็นบัตรประชาชนของน้องๆ 

ซึ่งเจ้าตัวไมโครชิพนี้จะถูกฝังไว้ที่ใต้ผิวหนังน้องหมาน้องแมวหรือนกโดยที่ไม่มีผลข้างเคียงและจะติดตัวน้องๆไปตลอดชีพเลยค่ะ   


อายุเท่าไหร่ถึงสามารถฝังไมโครชิพได้ 

การฝังไมโครชิปสามารถเริ่มฝังได้ตั้งแต่ยังอายุ 30-45 วัน โดยไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
แต่จะต้องดำเนินการโดยสัตวแพทย์เท่านั้นถึงจะปลอดภัยนะคะเพราะถ้าหากเข็มที่ใช้ในการฝังนั้นสกปรกจะทำให้เกิดฝีขึ้นได้ค่ะ



ข้อดีของการฝังไมโครชิพ 

  • ใช้ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง  เมื่อทำการฝังไมโครชิพเรียบร้อยแล้ว สัตวแพทย์จะทำการติดตั้งเลขไมโครชิพและบันทึกในเว็บไซต์ของผู้ผลิตนั้นเพียงเท่านี้สัตว์เลี้ยงของเราก็จะมีข้อมูลอยู่ในระบบแล้วค่ะ และตอนนี้ในหลายๆประเทศมีข้อบังคับให้ผู้เลี้ยงสุนัขทุกคนจะต้องขึ้นทะเบียนสุนัขของตนเอง
  •  ป้องกันการสูญหายหรือถูกขโมย   สัตว์เลี้ยงก็เหมือนคนเลยค่ะถ้าเกิดการสูญหายสิ่งเดียวที่จะยืนยันตัวตนได้ก็คือบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเจ้าตัวไมโครชิพนี้ก็เปรียบเสมือนบัตรประชาชนที่จะช่วยยืนยันตัวตนของน้องๆได้ค่ะว่าเค้ามีเจ้าของ เค้าชื่ออะไร
  •  ใช้เดินทางระหว่างประเทศ  เมื่อประเทศเปิดเจ้าของอย่างเราก็อยากจะพาเค้าไปเปิดหูเปิดตา ซึ่งในตอนนี้หลายประเทศเริ่มมีกฏหมายออกมาว่าเมื่อจะพาสัตว์เลี้ยงเดินทางเข้าประเทศนั้นต้องทำการฝังไมโครชิพมา และทำวัคซีนพิษสุนัขบ้าอย่าน้อย 1 เข็ม ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันหรือไม่เกิน 1 ปี ยกตัวอย่างเช่น ประเทศ เกาหลีใต้  ญี่ปุ่น รวมไปถึงประเทศในโซนยุโรป   
  • ใช้ในการประกวดสัตว์เลี้ยง ในการประกวดระดับสากล มักจะมีข้อกำหนดชัดเจนในเรื่องของการที่สัตว์เลี้ยงที่เข้าประกวดจะต้องฝังไมโครชิพ แต่เหตุผลหลักๆก็คือ  เพื่อยืนยันตัวตน และสำคัญกว่านั้นคือป้องกันการสลับตัวค่ะ  
  •  ออกใบเพ็ดดีกรี  เพื่อความสบายใจของผู้ซื้อและผู้ขายไมโครชิพจะช่วยยืนยันตัวตนสัตว์เลี้ยงและความถูกต้องจะได้หมดกังวลเรื่องการซื้อขายไม่ผิดตัวค่ะ  
  • ตรวจสอบสายพันธุ์ การทำไมโครชิพให้กับพ่อแม่พันธุ์ เป็นเครื่องยืนยันว่าสายพันธุ์มีการถ่ายทอดมาหลายๆรุ่นแถมยังสามารถรวจสอบสายพันธุ์ได้อย่างแน่นอน  


 ขั้นตอนในการฝังไมโครชิพ   

  • ก่อนเริ่มการฝังสัตวแพทย์จะนำเครื่องอ่านรหัสไมโครชิพมาทำการสแกนหาที่ตัวสัตว์เลี้ยงก่อนว่าเคยได้รับการฝังไมโครชิพมาหรือไม่  
  • ทำการตรวจเช็คไมโครชิพซึ่งอุปกรณ์ที่ได้มาตราฐานไมโครชิพจะต้องอยู่ในซองที่อบฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อ  
  • นำเครื่องอ่านรหัสไมโครชิพ สแกนเข็มที่บรรจุไมโครชิพเพื่อตรวจให้เเน่ใจว่าในเข็มได้บรรจุไมโครชิพไว้และตรวจสอบรหัสของไมโครชิพว่าตรงกับที่ระบุไว้บนซองบรรจุหรือไม่
  • เริ่มฝังไมโครชิพโดยการใช้เข็มฉีดเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง บริเวณระหว่างหัวไหลทั้ง 2 ข้าง 
    จากนั้นทำการสแกนหาไมโครชิพบนตัวสัตว์เลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถ้าไมโครชิพได้เข้าไปอยู่ที่ชั้นใต้ผิวหนังเรียบร้อยแล้ว จะมีเลขปรากฎขึ้นมาบนเครื่องอ่านรหัสไมโครชิพ
  • คุณหมอจะออกใบรับรองการฝังไมโครชิพ พร้อมหมายเลขของสัตว์เลี้ยงของเราระบุไว้อย่างชัดเจน


ประโยชน์ของการฝังไมโครชิพนั้นมีมากมายถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เครื่องติดตามสัตว์เลี้ยงแต่การที่เราฝังไมโครชิพไว้ก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหายเลยนะคะ 

ยิ่งกับน้องๆที่ชอบหนีเที่ยวอยู่บ่อยๆ เพราะถ้าหากใครที่เจอสัตว์เลี้ยงของเราก็สามารถแจ้งเพื่อตามหาได้และในบางครั้งสัตว์เลี้ยงของเราสวยเกินห้ามใจจนเค้าไปแอบอ้างเป็นของตัวเองเราก็สแกนข้อมูลโชว์ไปเลยสิคะ  !!  




Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor