นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

โรคตาสุนัขและแมวคืออะไรกันนะ?

สุนัข ,แมว ,โรคและการรักษา ,โรคที่พบบ่อยในสัตว์เลี้ยง 7 ตุลาคม 2565 66,472 ครั้ง

         แก้วตา (Lens) ของสัตว์โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเลนส์นูนใสมีความโค้งนูนทั้ง 2 ด้าน มีหน้าที่สำคัญร่วมกับกระจกตาในการรวมแสงไปโฟกัสบนจอประสาทตา (Retina) มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำและโปรตีน โดยร้อยละ 65% เป็นน้ำและอีก 35% เป็นโปรตีน ส่วนที่เหลือเป็นไขมันและแร่ธาตุอื่นๆ แต่เมื่อสัตว์เลี้ยงตัวโปรดโตขึ้นกลับพบว่าสุนัขตาขุ่นขาว ส่วนน้องแมวตาเป็นฝ้า ซึ่งอาจจะทำให้เจ้าของเกิดความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของสัตว์เลี้ยง วันนี้ Thonlor Pet จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคต้อกระจกในสัตว์เลี้ยงว่าคืออะไร และรักษาได้หรือไม่?

โรคต้อกระจกในสัตว์เลี้ยงคืออะไร

         “ต้อกระจก” เป็นภาวะที่ใช้เรียกเลนส์ตา (แก้วตา) ที่มีความขุ่น ซึ่งมักจะเห็นเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเหลืองผิดไปจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งไหนหรือเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม

สาเหตุของต้อกระจกมีอะไรบ้าง

  • สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือเกิดจากการเสื่อมของเลนส์ตามวัย ส่วนใหญ่พบในสุนัขอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
  • เกิดจากกรรมพันธุ์ ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเป็นต้อกระจกตั้งแต่อายุ 1-2 ปี
  • เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่ดวงตาเช่นโดนกระแทก ตกจากที่สูง โดนรถชน โดนของมีคมกระแทกตา
  • เกิดจากโรคตาบางชนิดเช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมหรือลอกหลุด โรคต้อหิน หรือมีการอักเสบของตาที่เกิดจากแผลบนกระจกตา
  • โรคทางร่างกายบางโรคเช่น โรคเบาหวาน หรือการติดเชื้อที่ทำให้เป็นต้อกระจกได้เร็วขึ้น

อาการของต้อกระจกเป็นอย่างไร

  • อาการของโรคตาในสุนัขและแมวมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ (ยกเว้นในรายที่เป็นเบาหวาน) โดยไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใดๆ
  • ในช่วงแรกอาจจะยังมองไม่เห็นว่าสุนัขตาเป็นฝ้าขาว หรือน้องแมวตาขุ่นผิดปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสายตาจะเริ่มพร่ามัว เมื่อระยะเลนส์ขุ่นเต็มที่จนมองไม่เห็น ก็จะทำให้สัตว์เลี้ยงเดินชนเข้าหาเจ้าของหรือทานอาหารไม่ถูก ขึ้นบันไดได้แต่ลงบันไดไม่ได้ ในสุนัขบางตัวเมื่อมองไม่เห็นจะมีนิสัยก้าวร้าว ดุมากขึ้น เนื่องจากมีความระแวงหรือมีอารมณ์หงุดหงิดขึ้น

โรคแทรกซ้อนที่ตามมา

         หากทิ้งไว้นานจนต้อกระจกแก่เกินไป อาจเกิดปัญหาโรคต้อหินขึ้นและโรคม่านตาอักเสบแทรกซ้อน ทำให้ปวดตา ตาแดงและตาบอดได้

วิธีการรักษาต้อกระจกต้องทำอย่างไร ?

  • ใช้ยาหยอดตาเพื่อชะลอความเสื่อมของเลนส์ เพื่อให้เลนส์ตาขุ่นช้าลง แต่ต้องเข้าใจว่าไม่มียาชนิดใดสามารถลดหรือหยุดโรคต้อกระจกได้
  • สามารถรักษาโรคตาในสุนัขและแมวได้ด้วยการผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) เป็นการผ่าตัดต้อกระจกแบบแผลเล็ก ซึ่งแผลมีขนาดเล็ก 3 mm (สำหรับไม่มีเลนส์เทียม) และ 4.5 mm (สำหรับแบบใส่เลนส์เทียม)
  • สำหรับการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือการผ่าตัดเพื่อนำเอาเลนส์ที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์ตาเทียมให้กับสัตว์ป่วย ในปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการผ่าตัดชั้นสูง (Phacoemulsification) ที่ใช้เครื่องมือและเทคนิคในการผ่าตัดเช่นเดียวกับในการรักษาคน แต่ในสุนัขและแมวอาจจะต้องมีการวางยาสลบเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของสุนัขระหว่างการผ่าตัด

ขั้นตอนวินิจฉัยทำการผ่าตัด

  1. ตรวจตา สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยดวงตาอย่างละเอียดเพื่อจำแนกชนิด ตำแหน่งและความรุนแรงของต้อกระจก รวมถึงมีการวัดความดันตา ตรวจเนื้อวุ้นตาและจอประสาทตาโดยละเอียด
  2. ตรวจเลือด
  3. วัดความดันเลือด
  4. x-ray ช่องอก
  5. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (สำหรับสุนัขอายุมาก)
  6. ตรวจเบาหวาน
  7. Ultrasound
  8. ERG ตรวจจอประสาทตา

ข้อควรการปฎิบัติก่อนผ่าตัด

  • สุนัขและแมวควรอาบน้ำก่อนผ่าตัด
  • ควรให้สัตว์เลี้ยงรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
  • ให้ยาที่กินเป็นประจำได้ตามปกติและนำมาโรงพยาบาลด้วยเช่น ยาเบาหวาน ยาลดความดัน ยาแก้แพ้ ยาโรคหัวใจเป็นต้น
  • ยาที่ต้องงดก่อนการผ่าตัด 1 สัปดาห์คือยาแอสไพริน ยาหดม่านตา

ข้อควรปฎิบัติหลังการผ่าตัด

  • หลังผ่าตัด สัตว์เลี้ยงควรอยู่พักในโรงพยาบาลเพื่อให้สัตวแพทย์ทำการตรวจให้ละเอียดทุกวัน ประมาณ 4-7 วัน
  • ใส่คอลล่า กันการเกาหรือการถูตา
  • ไม่ให้สุนัขเห่าหรือสะบัดหน้าแรงๆ
  • ไม่ควรให้ขึ้นลงบันได หรืออยู่ในที่ที่มีฝุ่นควันที่อาจระคายเคืองตาได้
  • ป้อนยา/หยอดตา ตามที่สัตวแพทย์สั่ง
  • มาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจตามนัด

         สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีอาการของโรคต้อกระจก ไม่ว่าจะเป็นสุนัขตาเป็นฝ้าขาว หรือจะเป็นน้องแมวตาเป็นฝ้า เจ้าของก็สามารถพาน้อง ๆ สัตว์เลี้ยงตัวโปรดมาตรวจเช็กอาการโรคตาในสุนัขและโรคตาในแมว รวมถึงสอบถามค่ารักษาตาสุนัขและแมวเบื้องต้นได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อของเราได้ เพื่อวางแผนการรักษาและการผ่าตัดในขั้นตอนต่อไปอย่างเหมาะสม

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor