บริการฉีดวัคซีนรวมสุนัข และฉีดวัคซีนแมว

การฉีดวัคซีนรวมสุนัข และแมวถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากมีโรคหลายชนิดที่เป็นแล้วรักษาได้ยาก หรือเป็นแล้วมีโอกาสที่สุนัขและแมวของเราจะเสียชีวิตได้สูง ดังนั้นการฉีดวัคซีนหมาและฉีดวัคซีนแมว จึงเป็นวิธีป้องกันโรคต่างๆ ให้ห่างไกลจากสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก
ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนลูกสุนัขและวัคซีนแมว
เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ สำหรับการฉีดวัคซีนลูกสุนัขและลูกแมว คือจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยในช่วงที่จะทำวัคซีน เนื่องจากวัคซีนส่วนใหญ่ที่ใช้นั้น จะเป็นวัคซีนเชื้อเป็น คือ การนำเชื้อก่อโรคมาผ่านกระบวนการทำให้เชื้ออ่อนกำลังลง โดยการที่สุนัขและแมวได้รับวัคซีนเข้าไปก็คล้ายกับการได้รับเชื้อเข้าไป แตกต่างกันก็ตรงที่ วัคซีนที่ฉีดเข้าไปนั้นจะไม่สามารถทำให้สุนัขและแมวเกิดโรคได้ เพราะเชื้อไม่มีกำลังมากพอ ที่จะก่อโรค เพียงแต่มีกำลังสำหรับเหนี่ยวนำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองและจดจำเชื้อเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม การป่วยหลังจากที่เพิ่งฉีดวัคซีนอาจเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นผลมาจากปฏิกิริยาของร่างกาย เช่น มีไข้อ่อน ๆ ซึม กินอาหารลดลง เจ็บปวดบริเวณที่ฉีด เป็นต้น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน ดังนั้น คุณหมอจึงมักจะแนะนำ ให้เจ้าของงดอาบน้ำให้สุนัขหรือแมว 7 วันหลังจากฉีดวัคซีน
ทั้งนี้การป่วยหลังจากการฉีดวัคซีนรวมสุนัขหรือวัคซีนรวมแมว บางครั้งอาจเกิดจากสุนัขหรือแมวอาจจะมีเชื้อแฝงอยู่ก่อน แต่ยังไม่แสดงอาการ เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปจึงทำให้แสดงอาการป่วยขึ้น ดังนั้นสุนัขที่เข้ารับการฉีดวัคซีนรวมสุนัขทุกครั้ง จะต้องมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ โดยเจ้าของจะต้องสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงให้ดี ถ้าป่วยอยู่จะต้องทำการรักษาให้หายก่อนที่จะทำการฉีดวัคซีน
โรคติดเชื้อที่สำคัญในสุนัขและวัคซีนลูกสุนัข
- โรคไข้หัดสุนัข ( Canine distemper )
- โรคลำไส้อักเสบในสุนัข ( Canine Viral Parvo virus )
- โรคเลปโตสไปโรซีสหรือโรคฉี่หนู ( Leptospirosis )
- โรคตับอักเสบในสุนัข ( infectious Canine Hepatitis, Canine Adenovirus Infection )
- โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies )
- โรคหลอดลมอักเสบในสุนัข ( Canine Infectious Tracheobronchitis : CIT, Kennel cough )
โปรแกรมวัคซีนในสุนัข
อายุ | ชนิดวัคซีน | ครั้งที่ |
6 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันโรคหวัดสุนัข | ( ครั้งที่ 1 ) |
8 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันไข้หัดสุนัข , ลำไส้อักเสบ ,เลปโตสไปโรซิส ตับอักเสบ , พาราอินฟูลเอนซ่า |
( ครั้งที่ 1 )
|
11 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันไข้หัดสุนัข , ลำไส้อักเสบ ,เลปโตสไปโรซิส ตับอักเสบ , พาราอินฟูลเอนซ่า |
( ครั้งที่ 2 )
|
14 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันไข้หัดสุนัข , ลำไส้อักเสบ ,เลปโตสไปโรซิส ตับอักเสบ , พาราอินฟูลเอนซ่า |
( ครั้งที่ 3 )
|
17 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัชบ้า | ( ครั้งที่ 1 ) |
20 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัชบ้า | ( ครั้งที่ 2 ) |
1 ปี | กระตุ้นวัคซีนสุนัขบ้า, ไข้หัดสุนัข, ลำไส้อักเสบ, เลปโตสไปโรซิส, ตับอักเสบ, พาราอินฟูลเอนซ่า |
สุนัขที่เคยได้รับวัคซีนตามโปรแกรมแล้ว ให้รับการฉีดวัคซีนรวมสุนัขและวัคซีนพิษสุนัขบ้า ปีละ 1 ครั้ง
โรคติดเชื้อที่สำคัญในแมว
- โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies )
- โรคช่องท้องอักเสบติดต่อ ( Feline infectious peritonitis : FIP )
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว ( Feline leukemia virus : FeLV )
- โรคไข้หัดแมว ( Feline panleukopenia,Feline distemper )
- โรคเอดส์แมว ( Feline Immunodeficiency Virus : FIV )
- โรคหวัดแมว / โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว ( Feline infectious upper respiratory tract disease )
โปรแกรมวัคซีนในแมว
อายุ | ชนิดวัคซีน | ครั้งที่ |
8 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ช่องปากและลิ้นอักเสบ |
( ครั้งที่ 1 )
|
11 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ช่องปากและลิ้นอักเสบ |
( ครั้งที่ 2 )
|
14 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ช่องปากและลิ้นอักเสบ |
( ครั้งที่ 3 )
|
17 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัชบ้า | ( ครั้งที่ 1 ) |
20 สัปดาห์ | วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัชบ้า | ( ครั้งที่ 2 ) |
1 ปี | กระตุ้นวัคซีนพิษสุนัขบ้า , ไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ช่องปากและลิ้นอักเสบ |
แมวที่เคยได้รับวัคซีนตามโปรแกรมแล้ว ให้ฉีดพิษสุนัขบ้าแมวและวัคซีนรวมกระตุ้น ปีละ 1 ครั้ง
ติดต่อสอบถาม เพื่อฉีดวัคซีนประจำปีหมา-แมว ในกรุงเทพ เชียงใหม่ พัทยา ระยอง และภูเก็ต หรือนัดวันพบสัตวแพทย์ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-079-9999
Related Post


